การบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

Main Article Content

ณฐกรณ์ ดำชะอม
วรกาญจน์ สุขสดเขียว

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ทราบองค์ประกอบการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 2) ทราบแนวปฏิบัติให้เกิดผลตามการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 3) ทราบผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จำนวน 220 โรง กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียน 140 โรง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งประเภท (Stratified Random Sampling) มีผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร หัวหน้าโครงการและครูห้องเรียนพิเศษ รวมผู้ให้ข้อมูล 420 คน เครื่องมือวิจัย 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) แบบสอบถามแนวปฏิบัติ 4) แบบสอบถามเพื่อยืนยันองค์ประกอบ สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา


                ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมี 13 องค์ประกอบ คือ (1) การสรรหาและคัดเลือกนักเรียน (2) การปกครองนักเรียน (3) การใช้สื่อในห้องเรียน (4) การกำหนดวิธีวัดและประเมินผล (5) การจัดกิจกรรมพัฒนานักเรียน (6) การพัฒนาบุคลิกภาพความเป็นครู (7) การพัฒนาความสามารถเฉพาะทางของครู (8) การสร้างบรรยากาศในห้องเรียน (9) การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ (10) การคัดเลือกครูห้องเรียนพิเศษ (11) การสร้างเครือข่ายสนับสนุนการเรียนรู้ (12) การให้นักเรียนมีส่วนร่วม (13) การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตร 2) แนวปฏิบัติให้เกิดผลตามการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมี 13 องค์ประกอบ 72 แนวปฏิบัติ 3) ผลการยืนยันองค์ประกอบการบริหารจัดการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมมีความถูกต้อง ครอบคลุม เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-