การจัดการการแข่งขันกีฬานักเรียนจังหวัด
คำสำคัญ:
การจัดการการแข่งขันกีฬานักเรียนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบองค์ประกอบการจัดการการแข่งขันกีฬานักเรียนจังหวัด 2) เพื่อยืนยันองค์ประกอบการจัดการการแข่งขันกีฬานักเรียนจังหวัด การศึกษาวิจัยเป็นแบบผสมผสาน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เป็นองคาพยพที่เกี่ยวข้องกับการกีฬา ในเขตภาคกลาง ได้แก่ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด การกีฬาแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด สมาคมกีฬาจังหวัด ชมรมกีฬาชนิดต่าง ๆ สโมสรกีฬาอาชีพ และสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 11,552 แห่ง กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์ชนิดไม่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการการแข่งขันกีฬานักเรียนจังหวัด มี 8 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) การจัดการด้านบุคลากร เพื่อการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนจังหวัด 2) การกำหนดนโยบายและแผนการแข่งขันการกีฬานักเรียนจังหวัด 3) การสร้างมาตรฐานการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนจังหวัด 4) การสร้างความพึงพอใจในการจัดการแข่งขันกีฬานักเรียนจังหวัด 5) การส่งเสริมความร่วมมือทั้งภาครัฐ และเอกชน 6) การจัดระบบการคัดเลือกนักกีฬาและการส่งเสริมความเป็นเลิศทางกีฬา 7) การส่งเสริมความเท่าเทียมและทัศนคติทางกีฬา และ 8) การจัดการด้านงบประมาณ
2. ผลการยืนยันองค์ประกอบการจัดการการแข่งขันกีฬานักเรียนจังหวัด พบว่า มีความถูกต้อง เหมาะสม เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ โดยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิอย่างเป็นเอกฉันท์