บทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายไทรโยค – ลิ่นถิ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

Main Article Content

วรกมล น้อยพิทักษ์
สงวน อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อทราบบทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายไทรโยค-ลิ่นถิ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3  2) เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาบทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายไทรโยค-ลิ่นถิ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรของโรงเรียนในเครือข่ายไทรโยค - ลิ่นถิ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช่ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามบทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาตามแนวคิดของโอลิวาและพอลัส (Oliva and Pawlas) และแบบสัมภาษณ์ แนวทางการพัฒนาบทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่(frequency) ร้อยละ(percentage) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)             


                 ผลการวิจัยพบว่า                                                                                                                                                                                                                                                                                1. บทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายไทรโยค – ลิ่นถิ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านแต่ละบทบาทอยู่ในระดับ มาก                                                                                                                                                                                                                                                                                     2. แนวทางการพัฒนาบทบาทการนิเทศของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มเครือข่ายไทรโยค – ลิ่นถิ่น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 พบว่า  1)การพัฒนาบทบาทผู้ประสานงานของผู้บริหารควรมีการประสานกำกับติดตามงานเป็นลำดับขั้นกับครูในโรงเรียนในลักษณะเป็นเครือข่ายให้ความร่วมมือ 2)การพัฒนาบทบาทที่ปรึกษาของผู้บริหารควรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการบริหารทั้ง 4 ฝ่ายและนโยบายของกระทรวงในแต่ละเรื่องที่มีการเน้นย้ำ 3)การพัฒนาบทบาทผู้นำกลุ่มของผู้บริหารควรมีบทบาทเป็นผู้ชี้แนะชี้นำให้แก่ครู ประชุมทำความเข้าใจ 4)การพัฒนาบทบาทผู้ประเมินของผู้บริหารควรศึกษาหลักเกณฑ์วิธีการหรือข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเกณฑ์การประเมิน     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-