คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส ตามมาตรฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กฤษชนพลฐ์ ภาสดา
มัทนา วังถนอมศักดิ์

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมปุรณาวาสตามมาตรฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 2) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส ตามมาตรฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรของโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส สำนักงานเขตทวีวัฒนา จำนวน 43 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา และครู เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส ตามมาตรฐานโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


         ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส ตามมาตรฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ การประกันและพัฒนาคุณภาพภายใน ประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา อัตลักษณ์ของผู้เรียนและเอกลักษณ์ของสถานศึกษาและมาตรการส่งเสริม 


  1. แนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมปุรณาวาส ตามมาตรฐานโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ดังนี้ 1) ด้านประสิทธิภาพของการจัดการศึกษา โรงเรียนควรมีการพัฒนาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตรร่วมกัน สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางทุกปีการศึกษา เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น และควรส่งเสริมให้ครูและบุคลากรปฏิบัติงานตามความถนัดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 2) ด้านการประกันและพัฒนาคุณภาพภายใน โรงเรียนควรมีระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของโรงเรียน กำหนดมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนที่ชัดเจน มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการรายงานประเมินคุณภาพการศึกษาให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบโดยมีโครงการและกิจกรรมรองรับ 3) ด้านอัตลักษณ์ของผู้เรียนและเอกลักษณ์ของสถานศึกษา โรงเรียนควรปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของผู้เรียนด้านอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการจัดทำโครงการกิจกรรมเพื่อส่งเสริมผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ 4) ด้านมาตรการส่งเสริม โรงเรียนควรเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สร้างขวัญกำลังใจของบุคลากรภายในสถานศึกษาโดยส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรครูสู่ครูมืออาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-