การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์)
คำสำคัญ:
-บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา เรื่อง การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานความต้องการของครูในการสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) เพื่อทดลองใช้การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) และเพื่อประเมินผลและปรับปรุงการพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครูผู้สอน จำนวน 62 คน ระยะเวลาในการวิจัยคือ ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการในการนิเทศภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบประเมินความสอดคล้องความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบประเมินการใช้รูปแบบ การนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) จำนวน 1 ฉบับ และ 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) ตามมาตรฐานการประเมินทางการศึกษา จำนวน 1 ฉบับ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความหมาย การหาค่าดัชนีความสอดคล้อง การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการนิเทศภายในสถานศึกษา โรงเรียนเทศบาลวัดป้อมแก้ว (อัครพงศ์ชนูปถัมภ์) ประกอบด้วย 1) ด้านการให้ความช่วยเหลือครูโดยตรง 2) ด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม 3) ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ 4) ด้านการพัฒนาหลักสูตร และ 5) ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน โดยด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การวางแผนร่วมกับครูก่อนให้ความช่วยเหลือ 2) ระหว่างที่ให้ความช่วยเหลือ ผู้นิเทศเน้นการมีส่วนร่วมในการวางแผนที่จะสรุปผลการตรวจสอบความช่วยเหลือ 3) การประชุมผลการวิเคราะห์ผลการช่วยเหลือร่วมกับครู และ 4) การประชุมสรุปและวิเคราะห์กระบวนการช่วยเหลือครูทุกขั้นตอน เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อยของกระบวนการช่วยเหลือด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การพัฒนาครูให้มีศักยภาพในการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการ 2) การสร้างวินัย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในทีมงาน 3) การกำหนดปัญหาและเป้าหมายของการแก้ปัญหาร่วมกันของทีมงาน 4) การวางแผนและดำเนินงานตามแผนแก้ปัญหาของทีมงาน และ 5) การสร้างแรงจูงใจ การเสริมแรงและสร้างขวัญกำลังใจ ด้านการเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การสำ+รวจความจำเป็นในการพัฒนาครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) การพัฒนาความสามารถในการสอนโดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบต่าง ๆ 3) การจัดกิจกรรมสัมมนาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานวิชาชีพครู ด้านการพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การเตรียมความพร้อมของสถานศึกษา 2) การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา 3) การวางแผนดำเนินการใช้หลักสูตร 4) การดำเนินการบริหารหลักสูตร 5) การนิเทศ ติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตร 6) การสรุปผลการดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตรของสถานศึกษา และ 7) การปรับปรุง พัฒนากระบวนการบริหารจัดการหลักสูตร และด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) การกำหนดปัญหาหรือเป้าหมายการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) การกำหนดวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนหรือวิธีหาคำตอบหรือวิธีการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนางาน 3) การรวบรวมข้อมูลตามวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน 4) การวิเคราะห์ข้อมูลวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 5) การสรุปผลและเขียนรายงานการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน