ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

Main Article Content

ธนัญกรณ์ ทองเลิศ
กมลพร สอนศรี

บทคัดย่อ

                การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จัดเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร และ3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาในการปฏิบัติงานของบุคลากร  ประชากร จำนวน 1,322 คน หากลุ่มตัวอย่างด้วยการคิดคำนวณ ตามสูตรของทาโร่ยา มาเน่ (Taro Yamane 1967) ได้จำนวน 308 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถาม และ2) แบบสัมภาษณ์ ซึ่งมีการหาคุณภาพของเครื่องมือด้วยวิธีการของคอนบาค (Cronbach’s Alpha) ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) 0.88 โดยจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการและพนักงานราชการสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 5 คน ได้แก่ ผู้บริหาร หรือหัวหน้ากลุ่มงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) อีกทั้งการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสัมภาษณ์  ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทั้ง 4 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ได้แก่ ความทันเวลา  คุณภาพของงานและผลสำเร็จของงาน อีก 1 ด้านอยู่ในระดับมากคือ ด้านปริมาณ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน คือ บรรยากาศ/สภาพแวดล้อม และความผูกพันขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  3) ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาในการปฏิบัติงาน พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาอุปสรรค คือ นโยบายวิสัยทัศน์ขององค์กร วัฒนธรรม/การมีส่วนร่วม และบุคลากรขาดศักยภาพใน การปฏิบัติงาน มีแนวทางแก้ไขปัญหา คือองค์กรแจ้งนโยบายวิสัยทัศน์ ให้ชัดเจน ใช้หลักธรรมาภิบาล ทำงานเป็นทีม ให้บุคลากรพัฒนาตนเองด้วยการอบรม การสัมมนาอย่างสม่ำเสมอ และมีแนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงาน คือการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร สนับสนุนความมั่นคงและความก้าวหน้า ส่งเสริมความผูกพัน ความสามัคคีในการทำงาน และนำเทคโนโลยี มาช่วยในการปฏิบัติงาน เพื่อความสะดวก รวดเร็วมากขึ้น ส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-