การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ วิวัฒน์ชานนท์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล, โรงเรียนภัทรญาณวิทยา

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อทราบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน       ภัทรญาณวิทยา 2) เพื่อทราบแนวทางในการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนภัทรญาณวิทยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรในโรงเรียนภัทรญาณวิทยา อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม  ประกอบด้วย ผู้บริหาร 2 คน ครูประจำการ 49 คน รวมทั้งสิ้น 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ตามแนวคิดขององค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ สถิติที่ใช้ใน         การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การใช้ธรรมาภิบาลในโรงเรียนภัทรญาณวิทยา โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้  ด้านนิติธรรม ด้านภาระรับผิดชอบ ด้านความโปร่งใส    ด้านประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ด้านการตอบสนอง ด้านวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์ ด้านการมีส่วนร่วม     ด้านการมุ่งเน้นฉันทามติ และด้านความเสมอภาค
  2. แนวทางการใช้ธรรมาภิบาล ในโรงเรียนภัทรญาณวิทยาตามแนวคิดขององค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ 9 ประการ เป็นดังนี้ 1) เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการคิดและตัดสินใจ มีส่วนร่วมใน การวางแผน 2) มีการจัดการอบรมด้าน กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ๆ ที่ถูกต้องในการปฏิบัติหน้าที่ให้แก่บุคลากรในโรงเรียน 3) การให้ข้อมูลกับบุคลากรในเรื่องงบประมาณ การจัดซื้อ จัดจ้าง การบริหารบัญชีและเงินสวัสดิการ สามารถตรวจสอบได้  4) มีการนิเทศ  ติดตามการดำเนินงาน ประสานงานในการช่วยเหลือ    5)  ยอมรับความคิดเห็นที่เกิดจากความขัดแย้ง และร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ตามความเหมาะสม 6) มีความยุติธรรม 7) จัดระบบการ ใช้อาคารสถานที่ภายในให้เกิดประโยชน์และตรง ความต้องการของการเรียน        8) มีการปฏิบัติงาน เป็นไปตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้  9) มีวิสัยทัศน์  ที่รองรับแผนและนโยบายตามภาวะการเปลี่ยนแปลง

References

กระทรวงศึกษาธิการ,แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 12 , กรุงเทพฯ :สำนักงานปลัดกระทรวง

ศึกษาธิการ, 2560.

เชิงชาญ จงสมชัย และสุนทรชัย ชอบยศ, ธรรมาภิบาลกับการบริหารงานท้องถิ่น:1สภาพปัญหาและแนว

ทางการขับเคลื่อน. มหาสารคาม : อภิชาตการพิมพ์, 2557.

ดุจดาว จิตใส, การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับการบริหารงานบุคลในสถานศึกษาสังกัดเทศบาล

กลุ่มการศึกษาที่ 5, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.

ธีระ รุญเจริญ, สภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาใน ประเทศไทย, กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น, 2545.

นพดล เล็กบาง, การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในโรงเรียนนิวิฐราษฎร์อุปถัมภ์. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย

ศิลปากร, 2557.

ปรีดา พรหมดี, การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียนชุมชนศรีจอมทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษาเชียงใหม่ เขต 6, วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร

การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2553.

ปิยพงษ์ โพธิ์มี, การใช้หลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียน

มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8, วิทยานิพนธ์ปริญญา

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2554.

พิษณุ ยงดี, ธรรมาภิบาลของโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.

รัชยา ภักดีจิตต์, ธรรมาภิบาล เพื่อการบริหารภาครัฐและภาคเอกชน. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

รินทรรดี พิทักษ์, พฤติกรรมการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสงขลา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 2553.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550, ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่124. ตอนที่ 4 ก 24 สิงหาคม 2550.

วรรณา นิ่มนวล, ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร, (บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.

ศริญญา ลานทอง, ธรรมาภิบาลกับผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/30/2020