ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ผู้แต่ง

  • พันธ์ศักดิ์ พึ่งงาม ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • พิชญาภา ยืนยาว ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • นภาเดช บุญเชิดชู ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • สุมิตร สุวรรณ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

ข้อเสนอเชิงนโยบาย / คุณภาพชีวิตในการทำงาน / พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและประเมินคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ  3) สร้างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีการดำเนินงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาร่างข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ และขั้นตอนที่ 3 ยืนยันร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มที่ 1 พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏสายวิชาการ และสายสนับสนุน จำนวน 593 คน โดยการเลือกแบบตามความสะดวก กลุ่มที่ 2 พนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 22 คน โดยเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ 3 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 9 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

           ผลการวิจัย พบว่า  1) คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้แก่ (1) ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม อยู่ในระดับปานกลาง ( =-2.52) -(2) ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ มีอยู่ในระดับน้อย ( = 2.43)  (3) ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน อยู่ในระดับน้อย ( = 2.50)  (4) ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล อยู่ในระดับน้อย ( = 2.31)  (5) ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน อยู่ในระดับน้อย ( = 2.45)  (6) ด้านสิทธิของพนักงานหรือสิทธิตามรัฐธรรมนูญ อยู่ในระดับน้อย ( = 2.42)  (7) ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว อยู่ในระดับน้อย ( = 2.50)  และ (8) ด้านความเกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ต่อสังคม อยู่ในระดับน้อย ( =-2.08) 2)-แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย การจ่ายค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม  การสร้างความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน  การพัฒนาความสามารถของบุคคล และ (3) ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย กำหนดการจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ปรับให้มีสัญญาจ้างในระยะยาว จนถึง 60 ปี สนับสนุนการสอนเพื่อการผลิตบัณฑิตเป็นหลักให้มากกว่าการสร้างผลงานทางวิชาการ 

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019