การจัดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ปิยรัฐ จันซางเพ็ญ
นภาเดช บุญเชิดชู
พิชญาภา ยืนยาว

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการจัดการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดนครปฐม 2) ระดับประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดนครปฐม 3) การจัดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในจังหวัดนครปฐม จำนวน 234 คน ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย มีค่าความตรงด้านเนื้อหาระหว่าง 0.67 และ 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านการจัดการเปลี่ยนแปลง เท่ากับ 0.97 และด้านประสิทธิผลของโรงเรียน เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


        ผลการวิจัยพบว่า


  1. การจัดการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การติดต่อสื่อสาร การมีส่วนร่วม การสนับสนุนทรัพยากรทางการศึกษา การกำกับติดตาม การเจรจาข้อตกลงร่วมกัน และพลังอำนาจ

  2. ประสิทธิผลของโรงเรียน อยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ หลักสูตร ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ ผลลัพธ์ ทรัพยากร และบรรยากาศ

  1. การจัดการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย การกำกับติดตาม (X5) การติดต่อสื่อสาร (X1) พลังอำนาจ (X6) และการเจรจาข้อตกลงร่วมกัน (X3) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน (Ytot) โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 79 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการวิเคราะห์การถดถอย คือ Y ̂_tot = 0.49 + 0.19(X5) + 0.20(X1) + 0.28(X6) + 0.21(X4)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-