รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1

Main Article Content

ชมัยพร รัตนพรหม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประเด็นการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 2) เพื่อสร้างรูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1


           วิธีการวิจัย มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาประเด็นการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มี 2 ส่วน ประกอบด้วย 1) การสังเคราะห์ประเด็นการนิเทศจากเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง 2) การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน  ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการนิเทศ ในโรงเรียน จำนวน 43 แห่ง มี 2 ส่วน คือ 1) การประเมินระดับการปฏิบัติการทดลองใช้ตามรูปแบบโดยสอบถามความคิดเห็นจากศึกษานิเทศก์ จำนวน 8 คน และครูรับผิดชอบงานพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน จำนวน 43 คน รวมจำนวน 51 คน  2) การพัฒนารูปแบบการนิเทศ โดยการสนทนากลุ่มของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน  ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการนิเทศ มี 3 ส่วน คือ 1) การประเมินผลการใช้รูปแบบโดยใช้ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นตามแนวทางการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ 8 ประการ จำนวน 18 ตัวชี้วัดในโรงเรียนที่เป็นหน่วยทดลอง จำนวน 43 แห่ง 2) การประเมินระดับปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ตามแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ในโรงเรียนที่เป็นหน่วยทดลอง จำนวน 43 แห่ง โดยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 43 คน 3) การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนที่เป็นหน่วยทดลอง จำนวน 43 แห่ง ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ จำนวน 8 คน และครูรับผิดชอบงานพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน จำนวน 43 คน และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 43 คน รวมทั้งสิ้น 94 คน


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลการศึกษาประเด็นการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 พบว่า มี 5 ประเด็นหลัก คือ 1) การวางแผนการนิเทศ 2) การสร้างสภาพแวดล้อมการนิเทศ 3) การนำเข้าสู่การปฏิบัติการนิเทศ 4) การประเมินผลการนิเทศ และ 5) การสะท้อนผลและปรับปรุงการนิเทศโดยมี 12 ประเด็นย่อย 43 รายการ

  2. ผลการสร้างรูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1พบว่า มี 5 ประเด็นหลัก คือ 1) การวางแผนการนิเทศ 2) การสร้างสภาพแวดล้อมการนิเทศ 3) การนำเข้าสู่การปฏิบัติการนิเทศ 4) การประเมินผลการนิเทศ และ 5) การสะท้อนผลและปรับปรุงการนิเทศมี 12 ประเด็นย่อย และ 43 รายการ

          3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 ในโรงเรียนที่เป็นหน่วยทดลอง จำนวน 43 แห่ง


                      3.1 ผลการประเมินระดับการปฏิบัติตามรูปแบบการนิเทศ พบว่า ศึกษานิเทศก์และครูรับผิดชอบงานพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในภาพรวม มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ามีระดับการปฏิบัติการนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็นหลัก


                     3.2 ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศ พบว่า มีการปรับปรุงพัฒนาโดยปรับข้อความในรายการปฏิบัติที่มีค่าเฉลี่ยต่ำและข้ออื่นๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ายังบกพร่องอยู่ จำนวน 9 รายการ คือ ประเด็นหลักที่ 1 การวางแผนการนิเทศ 3 รายการ ประเด็นหลักที่ 2 การสร้างสภาพแวดล้อมการนิเทศ 3 รายการ ประเด็นหลักที่ 3 การนำเข้าสู่การปฏิบัติการนิเทศ 2 รายการ ประเด็นหลักที่ 5 การสะท้อนผลและปรับปรุงการนิเทศ 1 รายการ และประเด็นหลักที่ 4 การประเมินผลการนิเทศไม่มีรายการปรับปรุง


  1. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1

                     4.1 ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบ พบว่า โรงเรียนที่เป็นหน่วยทดลองจำนวน 43 แห่ง มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในปีการศึกษา 2559 เปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2560 จำแนกตามรายโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยร้อยละผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับดีขึ้นไปเพิ่มขึ้นจำนวน 38 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 88.37 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้


                   4.2 ผลการประเมินระดับปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน พบว่า ในภาพรวมผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นว่า ระดับปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวทางทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีระดับปฏิบัติกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด


                  4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อรูปแบบ พบว่า ในภาพรวมศึกษานิเทศก์ ครูรับผิดชอบงานพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน และผู้บริหารโรงเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดทุกประเด็นหลัก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-