แนวทางการจัดการความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1
คำสำคัญ:
ความเสี่ยง/แนวทางการจัดการความเสี่ยง/สถานศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 3) แนวทางการจัดการความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือสถานศึกษา จำนวน 60 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 3 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน และครู 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามเกี่ยวกับความเสี่ยงในสถานศึกษาตามแนวคิดของธร สุนทรายุทธ คณะกรรมการตรวจสอบและสำนักตรวจสอบภายในองค์กร สถาบันการศึกษาจริยธรรมความมั่นคงในการทำงานของอังกฤษ สภาเศรษฐกิจโลกและมหาวิทยาลัยเคลมสันและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว)
ผลการวิจัยพบว่า
- ความเสี่ยงในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย ดังนี้ ความเสี่ยงด้านการทุจริตความเสี่ยงด้านความมั่นคง/ความมีเสถียรภาพทางการศึกษา ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน ความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์ ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ ความเสี่ยงด้านการเงิน ความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี/การสื่อสารและความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ/ข้อบังคับ ตามลำดับ
- การวิเคราะห์ความแปรปรวน จะเห็นได้ว่าค่า F = 1.67 เป็นค่าที่ได้จากการคำนวณและมีค่า significant เท่ากับ .19 แสดงว่าความคิดเห็นของทั้ง 3 กลุ่ม คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
- แนวทางการจัดการความเสี่ยง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 1) การจัดการความเสี่ยงด้านการเงิน ควรบริหารจัดการงบประมาณตามระเบียบและหลักเกณฑ์อย่างเหมาะสมและควรหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงโดยยึดหลักความโปร่งใส ตรวจสอบได้ 2) การจัดการความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน ควรติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาอย่างมีทิศทาง 3) การจัดการความเสี่ยงด้านกลยุทธ์/ ยุทธศาสตร์ ควรจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย วิสัยทัศน์/พันธกิจและดำเนินการตามแผนกลยุทธ์/ยุทธศาสตร์ 4) การจัดการความเสี่ยงด้านกฎระเบียบข้อบังคับ ควรปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการพัฒนาระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล ประหยัด โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ 5) การจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี/การสื่อสาร ควรกำกับติดตามและตรวจสอบการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมติดตั้งระบบความปลอดภัยของข้อมูล 6) การจัดการความเสี่ยงด้านทรัพยากรมนุษย์ ควรจัดระบบความปลอดภัยในการทำงาน ให้ความสำคัญกับครูและบุคลากร เพิ่มแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 7) การจัดการความเสี่ยงด้านการทุจริต ควรจัดนิติกรของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามาอบรมให้ความรู้และจัดระบบการเฝ้าระวังการปลอมแปลงเอกสาร สร้างความตระหนักและจิตสำนึกแก่ครูและบุคลากร 8) การจัดการความเสี่ยงด้านความมั่นคง/ความมีเสถียรภาพทางการศึกษา ควรสร้างความเชื่อมั่นชื่อเสียงของสถานศึกษา การสอนของครูและการรักษาชื่อเสียงของสถานศึกษา 9) การจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ควรจัดระบบควบคุมดูแลความปลอดภัยในอาคาร