การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย

Main Article Content

พรเพ็ญ จิระณัฐวีรกุล
นุชนรา รัตนศิระประภา

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) เพื่อทราบสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2) เพื่อทราบแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัยตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ 424/2560-จำนวน 112-คน ประกอบด้วย คณะกรรมการอำนวยการ จำนวน 12 คน คณะกรรมการประสาน จำนวน 12 คน และคณะกรรมการดำเนินการ จำนวน 88 คน (ไม่รวมผู้วิจัย) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมใช้ข้อมูลในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้ค่าความถี่ (frequency : f) และค่าร้อยละ (percentage : %) ค่ามัชฌิมเลขคณิต (arithmetic mean : ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation : SD) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)


       ผลการวิจัยพบว่า


  1. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อแบ่งตามหน้าที่ คณะกรรมการอำนวยการ พบว่าอยู่ในระดับมาก คณะกรรมการประสาน พบว่าอยู่ในระดับมาก และคณะกรรมการดำเนินการ พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด

       2. แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย มีหลายจำนวนทั้งสิ้น 5 แนวทาง ดังนี้


                 1) ควรมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนให้ได้ครบทุกคน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการบันทึกข้อมูลของนักเรียน เพื่อที่จะนำไปวิเคราะห์และรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล


 


                 2) ควรสร้างแบบประเมินนักเรียนให้มีความหลากหลาย ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อที่จะสามารถคัดกรองนักเรียนได้อย่างแท้จริง


                 3) ควรให้ครูเสนอโครงการหรือกิจกรรมที่จะสามารถพัฒนานักเรียนในแต่กลุ่มที่มีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพ ลดปัญหา ป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดกับนักเรียนได้ทัน


                 4) ควรสร้างทีมครูให้คำปรึกษา ให้กับนักเรียนในแต่ละกลุ่มที่มีความแตกต่างกัน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น


                 5) ควรสร้างเครือข่ายในการส่งต่อนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

-