การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม
คำสำคัญ:
การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม ประชากรที่ศึกษาคือ บุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 รวมทั้งสิ้น 30 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 1 คน หัวหน้ากลุ่มงาน จำนวน 4 คน และครูผู้สอน จำนวน 25 ทั้งนี้ไม่รวมผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จากเอกสารแนวทางการนิเทศเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ ) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคมโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับคามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปหาน้อยไดดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา 2) ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา และ 4) ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
2. แนวทางการการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนพิทยาลงกรณ์พิทยาคมในด้านที่มีค่ามัชฌิมเลขคณิตน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) การสร้างความรู้ความเข้าใจให้บุคลากรในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 2) สถานศึกษามีการส่งเสริมการดำเนินงานนิเทศ ติดตาม ประเมินผล ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3) ผู้บริหารส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดกิจกรรมแนะแนวและระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน และ 4) สถานศึกษากำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการะประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน