การวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต

ผู้แต่ง

  • พัชราพร ร่วมรักษ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
  • นุชนรา รัตนศิระประภา ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) การวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 51 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลสถานศึกษาละ 4 คน ประกอบด้วยผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน 1 คน และครู 2 คน รวม 204 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ตามแนวคิดของกลิกแมน กอร์ดอน และรอสกอร์ดอน (Glickman, Gordon and Ross-Gordon) และประสิทธิผลของสถานศึกษาตามแนวคิดของครีทเนอร์และคินิคกิ (Kreitner and Kinicki) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน               

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร การออกแบบแผนปฏิบัติการ การสร้างนโยบาย การกำหนดพันธกิจ การกำหนดเป้าประสงค์หลัก การกำหนดปรัชญาขององค์กร การวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายใน การพัฒนาและวิเคราะห์กลยุทธ์ทางเลือก และการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอก
  2. ประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อย คือ การได้มาซึ่งทรัพยากร การบรรลุวัตถุประสงค์ การเลือกกลยุทธ์สร้างความพึงพอใจ และกระบวนการจัดการภายใน
  3. การวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 มีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 


 

References

-

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

06/30/2019