การศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก

Main Article Content

พัสสกรณ์ วิวรรธมงคล
ศิริรัตน์ ชาวนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาลวัดรัตนชัย จำนวน 20 คน มีเครื่องมือที่การวิจัยเป็นแบบสอบถามเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า เจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า 1) ด้านคุณภาพการเรียนรู้ โดยนักเรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ ได้รับความรู้และเกิดทักษะ เกิดกระบวนการคิด มีความคิดสร้างสรรค์ จากการลงมือปฏิบัติ รู้สึกมีความสุข สนุกในการเรียนรู้ กล้าแสดงออกมากขึ้น 2) ด้านครูผู้สอน พบว่า นักเรียนรู้สึกอยากเรียนคณิตศาสตร์มากขึ้นจากการสอนของครูที่ทำให้นักเรียนได้ความรู้และเข้าใจคณิตศาสตร์ ได้เรียนอย่างสนุกสนาน มีความสุขในการเรียน 3) ด้านสื่อการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมจากกิจกรรมการเรียนรู้หลากหลายสอดคล้องกับความสนใจของนักเรียน รวมถึงการเรียนรู้นอกห้องเรียน เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ทำให้สามารถเรียนรู้และเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น และ 4) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจในวิชาคณิตศาสตร์อย่างสนุกสนาน เกิดทักษะความรู้ ได้พัฒนากระบวนการคิด รู้รักความสามัคคี และความกล้าแสดงออกมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพมหานคร: ครุสภาลาดพร้าว.

จิตรลดา จิตรกุล. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สื่อรูปธรรมเรื่อง ปริมาตร ของนักศึกษาสาขาวิชาท่องเที่ยวระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ห้อง 1 วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. รายงานการวิจัย. วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. แหล่งที่มา https://genedu.kku.ac.th/mainweb/New%20Site2014/activity/อบรมActiveLearningอุดร6-8มีค60/ActiveLearing68032016. html สืบค้นเมื่อ 2 ม.ค. 2563.

ดวงเดือน อ่อนน่วม และคณะ. (2536). การสร้างเสริมสมรรถภาพคณิตศาสตร์ของครูประถมศึกษา. รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไมตรี อินประสิทธิ์. (2557). กระบวนการแก้ปัญหาในคณิตศาสตร์ระดับโรงเรียน. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โรงเรียนเทศบาลวัดรัตนชัย. (2561). เอกสารรายงานการวิเคราะห์ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนเทศบาลวัดรัตนชัย เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: โรงเรียนเทศบาลวัดรัตนชัย.

วิชา สำราญใจ. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ศรัณย์ จันทร์ศรี และน้อมจิต กิตติโชติพาณิชย์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตพระโขนง. วารสารวิทยาศาสตร์ลาดกระบัง. 23(1). 62-79.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

อรษา เจริญยิ่ง. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องคู่อันดับและกราฟ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดลาดหญ้าไทร (สิงหวิทยาคาร) โดยใช้การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Active Learning). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Aiken Jr L. R. (1970). Attitudes towards mathematics. Review of Educational Research. 40(4). 551-596.

Bonwell, J.A. Eison. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ERIC Digest. Washington D. C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education.

Mc Leod, D. (1992). Research on affect in mathematics education: a reconceptualization. In Grows (Ed.), Handbook of Research on Mathematics Teaching and Learning. New York: McMillan Publishing Company.

Papanastasiou, C. (2008). A Residual Analysis of Effective Schools and Effective Teaching in Mathematics. Studies in Educational Evaluation. 34(1). 24-30.