การพัฒนาชุดกิจกรรมที่เน้นสมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมที่เน้นสมองเป็นฐาน เรื่องดวงอาทิตย์กับการดำรงชีวิต 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสุขในการเรียนรู้หลังเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมที่เน้นสมองเป็นฐานกับนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนก่อนและหลังได้เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมที่เน้นสมองเป็นฐาน และ 4) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมที่เน้นสมองเป็นฐาน ประชากรเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 54 คน โดยกลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยครั้งนี้ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (cluster random sampling) หน่วยเป็นห้องเรียน เป็นกลุ่มทดลอง 27 คนและกลุ่มควบคุม 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลมีดังนี้ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) แบบวัดความสุขในการเรียนรู้ และ 3) แบบบันทึกการสะท้อนผลการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test Dependent และ t-test Independent ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมที่เน้นสมองเป็นฐานมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.57 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสุขในการเรียนรู้หลังเรียนของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมสมองเป็นฐานสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนได้ใช้ชุดกิจกรรมสมองเป็นฐานหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมสมองเป็นฐานสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติ และนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรมสมองเป็นฐานมีความคงทนในเรียนรู้หลังเรียนทันทีกับหลังเรียนเมื่อผ่านไปแล้ว 2 สัปดาห์ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(2). 1-11.
เกษณี เตชาพาหพงษ์. (2562). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ขนิษฐา บุญมาวงษา. (2561). ความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
จารุกิตติ์ วิทยาปัญญานนท์. (2561). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยที่เน้นสมองเป็นฐานที่มีต่อความสุขในการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 41(3). 49-63.
จิรัชญา อุ่นอกพันธ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษและความสุขในการเรียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(3). 35-47.
ภานุวัฒน์ สงแสง. (2564). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านที่มีผลต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา. 15(1). 104-117.
วราภรณ์ กุณาบุตร. (2561). การจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัยธมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิริมล พละวัตร. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพแนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพมหานคร: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่น ซัพพลายส์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์. แหล่งที่มา https://www.scimath.org/ebook-science/item/8415-2-2560-2551 สืบค้นเมื่อ 22 ก.ค. 2565.
สายทิพย์ แก้วอินทร์. (2548). การเรียนรู้อย่างมีความสุข กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
Al-Balushi, K. A. and Al-Balushi, S. M. (2018). Effectiveness of Brain-Based Learning for Grade Eight Students' Direct and Postponed Retention in Science. International Journal of Instruction. 11(3). 525-538.
Caine, R. N. and Caine, G. (1990). Understanding a brain-based approach to learning And teaching. From https://search.ebscohost.com/login.aspx?direct=true&AuthType=sso&db=edsggo&AN=edsgcl.9058062&site=eds- live&custid=ns016262 Retrieved October 18, 2022.