การนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลและปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี และศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลในการนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูโรงเรียนมัธยมในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี จำนวน 318 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย พบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับประสิทธิผลในการนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรีอยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ วิชาการ งบประมาณ บริหารบุคคล และบริหารทั่วไป ในส่วนของความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลในการนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรีอยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ผู้เรียน ครูผู้สอน ผู้บริหาร และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ซึ่งปัจจัยทั้งในภาพรวมและรายด้าน ทั้ง 4 ด้าน มีความสัมพันธ์กับระดับประสิทธิผลในการนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรุณา ภู่มะลิ, ทวีศิลป์ กุลนภาดล, ผดุงชัย ภู่พัฒน์ และนิวัตต์ น้อยมณี. (2557). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 8(1). 158-172.
ชาติชาย ฤทธิ์น้ำ. (2546). การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาระหว่างชุมชนและโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
เทิดศักดิ์ ไชยสมปาน. (2558). ปัญหาการศึกษาไทยและแนวทางการแก้ไข. แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/409185 สืบค้นเมื่อ 21 ก.ค. 2565.
ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นฏกร ปั้นพุ่มโพธิ์, สมศรี ทองนุช และสุเมธ งามกนก. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 13(1). 81-96.
นิตยา สายเครือติ๊บ. (2556). ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของหลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์ แบบบูรณาการองค์รวมของโรงเรียนบ้านบงตัน อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรพิมล หรรษาภิรมย์โชค. (2554). การศึกษาสภาพการจัดการความรู้ของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาในเขตภูมิภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
พูลย์ชัย ยาวิราช. (2550). การพัฒนารูปแบบการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัทราพร เกษสังข์. (2554). วิจัยทางการศึกษา. เลย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
มนัสวีร์ จันทรังษี. (2554). ประสิทธิผลการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.
รุ่ง แก้วแดง. (2533). การจัดหลักสูตรการศึกษาเพื่อสอนองตอบความต้องการของผู้เรียนและความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 3(3).15-16.
รุจิราพรรณ คงช่วย. (2555). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วัชรพงษ์ น่วมมะโน. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8(1). 1120-1131.
ว่าที่ร้อยตรีไพศาล บรรจุสุวรรณ, (2558). การนำนโยบายหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติ ในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ดุษฎีนิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมบูรณ์ กฤชแดงฟู. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการบริหารงานของผู้บริหารกับคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านอรุโณทัย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ฉบับทบทวนปี พ.ศ. 2564. นนทบุรี: พีระการพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2565). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา 2565. นนทบุรี: พีระการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น.
สุพัตรา ขันทอง. (2562). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรวรรณ คำมาก. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตตรวจการกระทรวงศึกษาธิการที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Hinkle, D., William, W., & Stephen, J. (1998). Applied Statistics for the Behavior Sciences. 4th ed. New York: Houghton Mifflin.