ความต้องการจำเป็นของทักษะการเรียนรู้ด้านอารมณ์และสังคมของครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการเรียนรู้ด้านอารมณ์และสังคมของครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของทักษะการเรียนรู้ด้านอารมณ์และสังคมของครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการสถานศึกษา 4 คน และครูผู้สอนจำนวน 207 คน รวมทั้งสิ้น 212 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของทักษะการเรียนรู้ด้านอารมณ์และสังคมของครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวม สภาพปัจจุบันของทักษะการเรียนรู้ด้านอารมณ์และสังคมของครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของทักษะการเรียนรู้ด้านอารมณ์และสังคมของครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ในภาพรวม พบว่า ทักษะด้านความสัมพันธ์มีค่าดัชนีความต้องการจําเป็นสูงที่สุด (PNImodified = 0.931) รองลงมา คือ การตระหนักต่อตนเอง (PNImodified = 0.809) และการตัดสินใจที่รับผิดชอบ (PNImodified = 0.753)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
ชาญ สวัสดิ์สาลี. (2542). คู่มือนักฝึกอบรมมืออาชีพ : การจัดดำเนินการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิผล. กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
เพชรยุพา บูรณ์สิริจรุงรัฐ. (2558). หลักการพัฒนาความฉลาดทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: เฌ.เดียมอง.
มนูญ สรรค์คุณากร. (2562). ผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาตัวบ่งชี้ความฉลาดทางอารมณ์และสังคม. นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
มะลิ ประดิษฐแสง. (2559). ความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของอาจารย์ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้. สงขลา: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
วนิดา วาดีเจริญ. (2556). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ จากแนวคิด ทฤษฎี สู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2552). การปฏิรูปการศึกษาใหม่. กรุงเทพมหานคร: สวัสดิการสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 2. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 2.
สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). พระราชบัญญัติพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
Best, John W. (1981). Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice-Hall.
Goleman, D. (1995). Emotional intelligence: A new vision for educators. PsycEXTRA Dataset. https://doi.org/10.1037/e538982004-001.
Keyes, C. L. M. (1998). Social well-being. Social Psychology Quarterly. 61(2). 121–140. https://doi.org/10.2307/2787065
Oliveira. (2021). Impacts of social and emotional learning interventions for teachers on teachers' outcomes: A systematic review with meta-analysis. Frontiers in Psychology. 12. https://doi.org/10.3389/fpsyg.2021.677217.
Spilt, J.L., Koomen, H.M. and Thijs, J.T. (2011). Teacher wellbeing: The importance of teacher–student relationships. Educational Psychology Review. 23(4). 457–477.