แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยในตำบลตะเบาะ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแนวคิดทักษะชีวิตประชาธิปไตย

Main Article Content

พุทธอักษร ศรีสด
เพ็ญวรา ชูประวัติ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยในตำบลตะเบาะ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแนวคิดทักษะชีวิตประชาธิปไตย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครูปฐมวัยในตำบลตะเบาะ จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยฯ และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และฐานนิยม ผลการวิจัยพบว่า พบว่า แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยฯ มี 3 แนวทางหลัก 4 ทางย่อย และ 20 วิธีดำเนินการ โดยเรียงตามลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ 1) พลิกโฉมการวัดและประเมินผลพัฒนาการของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตประชาธิปไตย 2) ปรับปรุงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตประชาธิปไตย 3) ส่งเสริมการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตประชาธิปไตย โดยแนวทางได้มาจากการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น โดยใช้องค์ประกอบของการบริหารวิชาการเรียงลำดับความต้องการจำเป็น 3 อันดับมาจัดทำเป็นแนวทางหลัก ได้แก่ การวัดและประเมินผลพัฒนาการ (PNImodified=0.335) มีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมาคือ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (PNImodified=0.281) และองค์ประกอบของการบริหารวิชาการที่มีลำดับความต้องการจำเป็นลำดับสุดท้าย คือ การบริหารหลักสูตร (PNImodified=0.276)

Article Details

How to Cite
ศรีสด พ., & ชูประวัติ เ. (2022). แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยในตำบลตะเบาะ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแนวคิดทักษะชีวิตประชาธิปไตย . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 9(3), 294–306. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/250506
บท
บทความวิจัย
Author Biography

พุทธอักษร ศรีสด, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Educational Management, Department of Educational Policy Management and Leadership
Faculty of Education, Chulalongkorn University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

จันทรานี สงวนนาม. (2546). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.

จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ และจิราพร รอดพ่วง. (2562). การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ธนภร นิโรธร. (2559). การบริหารงานวิชาการระดับปฐมวัยสู่ประชาคมอาเซียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ปรียาภรณ์ วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การนิเทศการสอน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

รัตนา อินทะชัย. (2559). แนวทางการบริหารงานวิชาการการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

โรงเรียนบ้านเขาขาด. (2560). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report: SAR). เพชรบูรณ์: โรงเรียนบ้านเขาขาด.

วันชัย หวังสวาสดิ์. (2559). รูปแบบการบริหารประชาธิปไตยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สายสุณีย์ แจ้งจิต. (2559). แนวทางการบริหารวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2544). คู่มือการประเมินผลภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา การออกแบบระบบการประเมินภายใน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.

สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2560). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองของเด็กปฐมวัย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภาพร ชัยพฤกษ์. (2552). การเสริมสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย : ศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

แอน สุขะจิระ. (2558). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาการบริหารวิชาการระดับการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

Gartrell, D. (2012). Education for a civil society: How guidance teaches young children democratic life skills. Washington, DC: The National Association for the Education of Young Children.

Gartrell, D. (2013). Democratic life skill 2: Guiding children to express strong emotion in nonhurting ways. Young Children. 68(1). 90.

Moss, P. (2007). Bringing politics into the nursery : Early childhoon education as a democratic practice. The Hague, Netherlands : Bernard van Leer Foundation.

Newby, T. J., Stepich, D. A., Lehman, J. D., & Russell, J. D. (2000). Educational Technology for Teaching and Learning. 2nd ed. Upper Saddle River, NJ: Merrill/Prentice-Hall.