การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

วิรุฬห์ ทำทอง
ศรุดา ชัยสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี 3) ศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี มีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี จำนวน 180 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.988 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี พบว่า ด้านหลักนิติธรรม และด้านหลักมุ่งเน้นฉันทามติส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของครู มีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.753 สามารถอธิบายความแปรปรวนของแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของครู ได้ร้อยละ 54.10 (R2 = 0.541) และมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ 1.701 และ 0.819 ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ทำทอง ว., & ชัยสุวรรณ ศ. (2022). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาเอกชน จังหวัดนนทบุรี . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 9(3), 282–293. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/250201
บท
บทความวิจัย

References

กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). รายงานการติดตามประเมินผลการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

กิตติภูมิ สมศรี. (2560). แนวทางการบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดอุทัยธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

กิตติยา สาธุวัน. (2559). การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของครูและบุคคลากรทางการศึกษาในวิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์จังหวัดนนทบุรี. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

จังหวัดนนทบุรี. (2562). แผนพัฒนาการศึกษาของจังหวัดนนทบุรี (2562 – 2565). แหล่งที่มา http://nonthaburi.go.th/64083.html สืบค้นเมื่อ 5 มิ.ย. 2564.

ชัยศักดิ์ ขาวสังข์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารกับประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนอำเภอเมืองจังหวัดยะลา. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ดรรชนี จิตคำรพ. (2561). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ธวัชชัย นิลประดับ, ณัฐพล ชุมวรฐายี และวัชรพงษ์ แพร่หลาย. (2559). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารในทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(1). 115 – 124.

นวรัตน์ อายุยืน. (2561). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี.

นันทิชา ปูเวสา. (2560). การใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารโรงเรียนศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการบริหารการศึกษาหนองกุงศรี 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 4(1). 178.

รติมา คชนันทน์. (2560). จับตา สิงคโปร์ ขึ้นอันดับสองของโลกในการดึงดูดคนเก่งด้านเทคโนโลยีท่ามกลางกระแสเศรษฐกิจยุคดิจิทัล. แหล่งที่มา https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid=39822 สืบค้นเมื่อ 5 มิ.ย. 2564.

วรรณา นิ่มนวล. (2561). ธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 9(2). 140.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 - 2564. แหล่งที่มา https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/more_news.php?filename=&cid=297 สืบค้นเมื่อ 5 มิ.ย. 2564.

สุภา เจียมพุก และประเสริฐ อินทร์รักษ์. (2555). แรงจูงใจของครูกับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2(2). 221.

อธิจิต อาภรพงษ์. (2559). การบริหารสถานศึกษาตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

อัจฉราพร กรึงไกร. (2558). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(3). 159 – 160.

Cronbach, L.J. (1990). Essential of Psychological Testing. 5th ed. New York: Harper Collins.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3). 607-610.

McClelland, D. C., Atkinson, J. W., Clark, R. A. and Lowell, E. L., (1953). The achievement Motive. New York: Appleton-Century – Crofts.