ปัจจัยเชิงสาเหตุทางการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

พันเอก กรกต พรหมประโคน
สุรัตน์ ไชยชมภู
ไพรัตน์ วงษ์นาม
ประยูร อิ่มสวาสดิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุทางการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา และสร้างโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยเชิงสาเหตุทางการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 480 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบ่งเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 สภาพความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำ ตอนที่ 2 สภาพความคิดเห็นด้านวัฒนธรรมองค์การ ตอนที่ 3 สภาพความคิดเห็นด้านความผูกพันต่อองค์การ และตอนที่ 4 สภาพความคิดเห็นด้านผลสำเร็จในการบริหารของโรงเรียนมัธยมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของตัวแปรสังเกตได้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแฝงที่ใช้ในการศึกษา วิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันเพื่อตรวจสอบความตรงของรูปแบบการวัดตัวแปรแฝง และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โปรแกรม SPSS และประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยเชิงสาเหตุทางการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ และปัจจัยด้านความผูกพันต่อองค์การ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยภาวะผู้นำ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การ และปัจจัยความผูกพันต่อองค์การ โดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษาผ่านวัฒนธรรมองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผ่านความผูกพันต่อองค์การโดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษาผ่านความผูกพันต่อองค์การโดยไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

Article Details

How to Cite
พรหมประโคน พ. ก., ไชยชมภู ส., วงษ์นาม ไ., & อิ่มสวาสดิ์ ป. (2020). ปัจจัยเชิงสาเหตุทางการบริหารที่ส่งผลต่อผลสำเร็จของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 7(3), 144–155. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/244754
บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. (2546). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

จันทรานี สงวนนาม. (2545). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บุ๊คพอยท์.

ชยาธิศ กัญหา. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.

นลิน ศรพรหม. (2548). รับมือกับการเปลี่ยนแปลงในองค์การ. เพิ่มผลผลิต. 10(55). 23 – 25.

บัณฑิต ผังนิรันดร์. (2550). อิทธิพลของลักษณะองค์การ นโยบายการบริหารและการปฏิบัติงานสภาพแวดล้อมการทำงานภายในองค์การ แรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในงานและความผูกพันต่อองค์การที่มีต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประเสริฐ บัณฑิศักดิ์. (2540). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2542). การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การภาครัฐเกี่ยวกับการศึกษาอาชีพนอกระบบโรงเรียน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภรณี มหานนท์. (2529). การประเมินประสิทธิภาพองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ภารดี อนันต์นาวี. (2545). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มนตรี

มัลลิกา ตันสอน. (2544). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กเปอร์เน็ท.

ยุวราณี สุขวิญญาฌ์. (2549). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุประสิทธิผลองค์การของวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่ง แก้วแดง. (2546). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

รุจา รอดเข็ม. (2547). การพัฒนารูปแบบการประเมินประสิทธิผลองค์การของวิทยาลัยในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประยุกต์ตามแนวทางการประเมินองค์การแบบสมดุล. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจิตร ศรีสอ้าน. (2549). การบริหารการเปลี่ยนแปลงและองค์กรแห่งการเรียนรู้. เอกสารอัดสำเนา.

สงวน ช้างฉัตร. (2541). พฤติกรรมองค์การ. พิษณุโลก: สถาบันราชภัฎพิบูลสงคราม.

สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการสังเคราะห์สภาวการณ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: วี.ที.ซี.คอมมิวนิเคชั่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: เพลินสตูดิโอ.

สุพิณดา คิวานนท์. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การและผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2541). ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Arroba, T. and James Kim. (1992). Pressure at Work: A Survivals Guide for Manager. 2th ed London: McGraw-Hill Book Company.

Kast, Fremont E., and Rosenzweig. (1985). Organization and Management: A System and Contingency Approach. 4th ed. New York: McGraw-Hill Book.

Lunenburg, Fred C. and Allan C. Ornstein. (2000). Educational Administration: Concepts and Practices. Belmont, California: Wadsworth Publishing Company.

Owens, Robert G. (1995). Organizational Behavior in Deucalion. 5th ed. New Jersey: Prentice-Hall.

Steers, R. M. (1977). Organizational effectiveness and work behavior. New York: McMillan.

Steers, R. M. (1991). Motivation and work behavior. 6rd ed. New York: McGraw-Hill.

Williams, Mark W. (2003). The Relationship Between Principal Response to Adversity and Student Achievement. Dissertation Abstracts International-A. 64(12). 4309.

Youngs, P., and King,M.B. (2002). Principal leadership for professional development to build School capacity. Educational Administration Quarterly. 38(5). 643-670.