สมรรถนะของครูปฐมวัยกลุ่มโรงเรียนโชคชัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของครูปฐมวัยของกลุ่มโรงเรียนโชคชัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของครูปฐมวัยของกลุ่มโรงเรียนโชคชัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เป็นการศึกษาเชิงสำรวจใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูปฐมวัยกลุ่มโรงเรียนโชคชัย 175 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของครูปฐมวัยกลุ่มโรงเรียนโชคชัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยภาพรวม 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย ดังนี้ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยที่การมีความภูมิใจในวิชาชีพครูและการมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นอันดับสูงสุด 2) ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยที่การเลือกใช้สื่ออุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยสำหรับเด็ก มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เป็นอันดับสูงสุด 3) ด้านการพัฒนาตนเอง โดยที่การยอมรับความแตกต่างของสมาชิกแต่ละคน และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นอันดับสูงสุด 2) ส่วนผลการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะของครูปฐมวัยเหล่านี้จำแนกตามระดับการศึกษาพบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกด้านที่ระดับ .05 และประสบการณ์ปฏิบัติงานพบว่า ทุกด้านไม่แตกต่างกัน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ณัฐภัสสร ชื่นสุขสมหวัง. (2557). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูปฐมวัย. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). คิดเพื่อครู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2558). ความเป็นครู. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
โรงเรียนอนุบาลโชคชัยลาดพร้าว. (2561). รายงานสรุปผลกิจกรรมนิเทศภายใน. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนอนุบาลโชคชัยลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือการประเมินสมรรถนะครู. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.
Office of Early Childhood Development Virginia Department of Social Services. (2008). Competencies for Early Childhood Professionals Virginia’s Early Childhood Development Alignment Project. Virginia: Office of Early Childhood Development Virginia Department of Social Services.