การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑ ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ1) ศึกษา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบโรงเรียน การบริหารวิชาการ และการจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 แล้วทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์เนื้อหา 2) การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารการศึกษาและการศึกษานอกระบบ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 5 คน โดยแบบสัมภาษณ์ชนิดปลายเปิดการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย โดยใช้เทคนิคเดลฟาย จำนวน 3 รอบ ตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารการศึกษาและการศึกษานอกระบบจำนวน 17 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่ามัธยฐานพิสัยระหว่างควอไทล์ และ4) การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารศูนย์และครูผู้สอนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 364 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ซึ่งใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่าประกอบด้วย 5 ประกอบคือ องค์ประกอบที่ 1 หลักสูตร มีองค์ประกอบย่อยคือ หลักการจุดหมายเป้าหมายการประเมินผลการเรียนรู้การเทียบโอน เทียบระดับ และภาคีเครือข่ายองค์ประกอบที่ 2 วิธีการจัดการเรียนรู้มีองค์ประกอบย่อยคือยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ และหลากหลายกิจกรรมพัฒนาทักษะองค์ประกอบที่ 3 การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษามีองค์ประกอบย่อยคือ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีที่ทันสมัย และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายองค์ประกอบที่ 4การพัฒนาครู/ผู้สอนมีองค์ประกอบย่อยคือ สมรรถนะของผู้สอนการพัฒนาผู้สอน และการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนและองค์ประกอบที่ 5 การประกันคุณภาพการศึกษามีองค์ประกอบย่อยคือด้านผู้เรียนด้านผู้สอนด้านการจัดการเรียนรู้ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้และด้านบริหารจัดการ 2) การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ องค์ประกอบด้านหลักสูตร องค์ประกอบด้านวิธีการจัดการเรียนรู้องค์ประกอบด้านการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีและแหล่งการเรียนรู้เพื่อการศึกษา องค์ประกอบด้านการพัฒนาครู/ผู้สอน และองค์ประกอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 3) การประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเพิ่มสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพบว่า มีความเหมาะสมความเป็นไปได้ในระดับมาก
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตาม อัธยาศัย พ.ศ. 2551. สํานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. สํานักงานปลัดกระทรวง.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ ปีที่ 9 ฉบับที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). การประกันคุณภาพของสถานศึกษา. กรุงเทพ: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.
กษม โสมศรีแพง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ (กศ.ด. การบริหารและพัฒนาการศึกษา) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2550). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฏีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). การติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าการดําเนินงานด้านการจัดการเรียนรู้ปี 2549-2550. กรุงเทพฯ: เพลินสตูดิโอ จํากัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่สอง (2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2561).ร่างยุทธศาสตร์และ จุดเน้นการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ.
สํานักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2551). กศน: นโยบายและจุดเน้นการดําเนินงานสํานักงานกศน. ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: ไทยพับบริค เอ็ดดูเคชั่น.
Translated Thai Reference
Kamon Phuprasert. (2001). Academic administration in educational institutions. Bangkok: Tips for Publication.
Ministry of Education. (2007). The Non-Formal and Informal Education Promotion Act 2008. Office of the Non-Formal and Informal Education. Office of the Secretary of State.
Ministry of Education. (2009). Core curriculum, Basic Education, 2008. Humanities, Social Sciences and Arts, 9th year, no. 3. Bangkok: Printing House, Agricultural Cooperative of Thailand Limited.
Ministry of Education. (2011). School quality assurance. Bangkok: Kurusapa Publishing House,
Lat Phrao.
Kasem Somsilang. (2011). Development of academic administration empowerment model in small basic educational institutions. Thesis (Ed.D. Administration and Educational Development), Maha Sarakham University.
Phetcharin Songprasert (2007). Development of academic administration model based on teamwork principles in basic education institutions. Doctor of Education Thesis (Educational Administration) Naresuan University.
Wijan Phanich. (2012). The way to create learning for pupils in the 21st century. Bangkok: Sodsri-Saritwong Foundation.
The Office of the Education Council. (2010). Monitoring and evaluation of the progress of learning management in the years 2006-2007. Bangkok: Plearn Studio Co., Ltd.
The Office of the Education Council. (2009). Reform proposals Education in the Second Decade (2009-2018). Bangkok: Sweet Chili Graphic.
The Office of Non-Formal and Informal Education. (2018). Draft strategy and Operational focus Fiscal Year 2018. Bangkok.
Office of the Non-Formal and Informal Education (2008) Non-Formal Education: Policies and Operational Focuses Fiscal Year 1997. Bangkok: Thai Public Education.