การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในรายวิชาวิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาก่อนและหลังจากจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน และ 2) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ในแต่ละองค์ประกอบของนักศึกษาหลังจากจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐาน กลุ่มเป้าหมายครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 รายวิชาวิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2561 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภทดังนี้ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบแบบวินิจฉัยตัวเลือกสองลำดับขั้น แบบปรนัย จำนวน 2-4 ตัวเลือก ชนิดที่ผู้เรียนให้เหตุผลในการเลือกตัวเลือก ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษากลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) นักศึกษากลุ่มเป้าหมายมีระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ส่วนประกอบเฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อจัดระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะอยู่ในระดับดีมาก รองลงมาคือการคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ เมื่อจัดระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะอยู่ในระดับดี และการคิดวิเคราะห์หลักการ เมื่อจัดระดับความสามารถในการคิดวิเคราะห์จะอยู่ในระดับดี ทั้งนี้เนื่องจากการคิดวิเคราะห์ทั้ง 3 ประเภทนั้นมีความซับช้อนแตกต่างกัน และมีผลต่อการจัดกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการคิดวิเคราะห์
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ . (2542). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). การจัดการเรียนรู้แนวใหม่. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
ชุติมา วัฒนะคีรี. (2561). ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 4(1). 101 – 110.
พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (Research-Based Learning). CMU Journal of Education. 1(2). 62-71.
พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ และศุภลักษณ์ สินธนา. (2561) การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 13(1). 161-170.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: วี.พริ้น (1991).
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ และทัศนีย์ บุญเติม. (2540). การสอนแบบ Research-Based Learning ในแบบแผนและเครื่องมือ วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุทธิวรรณ พรีศักดิ์โสภณ สุรชัย มีชาญ และสมกิจ กิจพูนวงศ์. (2552). การศึกษาคุณภาพของแบบทดสอบ SWUSAT ที่ใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีการทดสอบแบบมาตรฐานเดิมและทฤษฎีการตอบข้อสอบ. รายงานวิจัย. สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2546). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
Çalik, M. Ayas, A and Coll, C.K. (2009). Investigating the effectiveness of an anlogy activityin improving students. conceptual solution chemistry concepts.
Marzano, Robert J. (2001). Designing a New Taxonomy of Educational Objective. Thousand Oaks. California: Corwin Press, Inc.