การสร้างชุดความรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาในพระไตรปิฎก

Main Article Content

พระครูวิรุฬห์สุตคุณ (อุดมศักดิ์ อุตฺตมสกฺโก)
ธานี สุวรรณประทีป
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักไตรสิกขาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาในพระไตรปิฎก 3) เพื่อศึกษาการสร้างชุดความรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาในพระไตรปิฎก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 รูป/คน โดยดำเนินการศึกษางานเอกสาร และเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักไตรสิกขาที่ปรากฏในพระไตรปิฎกโดยไตรสิกขาเป็นหลักการอบรมฝึกหัดทางกาย วาจา จิตใจ และสติปัญญา ศีล เป็นบทฝึกหัดหรือข้อปฏิบัติ สำหรับฝึกหัดกายและวาจาให้เรียบร้อย อันจะส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านจิตใจและปัญญาต่อไป สมาธิความตั้งมั่นของจิต ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง แน่วแน่ต่ออารมณ์เดียวและภาวะที่จิตอันกำหนดรู้อยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งปัญญา เป็นความรู้ชัด คือ ความรู้โดยอาการต่างๆ ที่ยิ่งกว่า ความกำหนดรู้ (สัญญา) และความรู้แจ้ง (วิญญาณ) 2) การพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาในพระไตรปิฎก คือ การฝึกฝนตนเองในด้านของศีล สมาธิ และปัญญา (1) ศีล คือ การฝึกในด้านพฤติกรรม โดยใช้วินัยเป็นเครื่องมือในการฝึกพฤติกรรมเคยชินที่ดี และการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพัฒนา (2) สมาธิ คือ การฝึกในด้านจิต หรือระดับจิตใจ ได้แก่การพัฒนาคุณสมบัติ คุณธรรม และความสุขของจิต โดยใช้การบำเพ็ญ สมถกรรมฐาน เป็นเครื่องมือในการฝึกจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ (3) ปัญญา คือ การฝึกในด้านการรู้ความจริง โดยใช้การวิเคราะห์ ไตร่ตรอง ตรวจสอบ คิดการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการฝึกปัญญาให้แจ่มแจ้ง และรู้เห็นตามที่มันเป็น จนเข้าถึงอิสรภาพ และ 3) การสร้างชุดความรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาในพระไตรปิฎก ได้แก่ (1) การสร้างชุดความรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักศีลในพระไตรปิฎกเป็นหลักการพฤติตนให้มีพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ประกอบด้วยมีวินัยในตนเอง สามารถดำรงตน รักษาระเบียบวินัย อยู่ร่วมกันในสังคมที่ดี มีความสัมพันธ์กับสังคม ปฏิบัติหน้าที่และมีความรับผิดชอบต่อสังคม เกื้อกูลประโยชน์ (2) การสร้างชุดความรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักสมาธิในพระไตรปิฎก หลักการฝึกจิตใจให้มีสมาธิ ประกอบด้วยการนั่งสมาธิ การฝึกจิตให้สงบตามธรรมชาติ รักษาระเบียบวินัย สัมมาวายามะ (เพียรชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (จิตตั้งมั่นชอบ) (3) การสร้างชุดความรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักปัญญาในพระไตรปิฎก หลักการฝึกจิตใจเจริญปัญญาในการเรียนรู้ ประกอบด้วยศึกษาเพื่อเรียนรู้ลึกในศาสตร์ที่ต้องการ รู้จักฟังเป็นคิดเป็นและวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ใฝ่เรียนรู้ อบรมปัญญาให้รู้แจ้งตามความเป็นจริง สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ)

Article Details

How to Cite
(อุดมศักดิ์ อุตฺตมสกฺโก) พ. ., สุวรรณประทีป ธ. ., & คุ้มครอง ว. . (2024). การสร้างชุดความรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขาในพระไตรปิฎก . วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 11(2), 1–11. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/272663
บท
บทความวิจัย

References

ทวีศักดิ์ ทองทิพย์. (2555). การวิเคราะห์การศึกษาตามหลักไตรสิกขา. สารนิพนธ์สาขาวิชา พระพุทธศาสนา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

บุญมี แท่นแก้ว. (2545). พุทธปรัชญาเถรวาท. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2539). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระมหาสมชาย สุรโตโช (สิงหา). (2556). ศึกษาการบรรลุธรรมของพระจูฬปันถกเถระ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสุธน ยสสีโล (ผลชอบ). (2541). การศึกษาเชิงวิเคราะห์วิปัสสนากัมมัฏฐานในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีศุกร์ภาวดี ณ พัทลุง. (2556). การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนตามหลักไตรสิกขากรณีศึกษาพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทยา ประวะโข. (2561). การสร้างกระบวนการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขาเพื่อพัฒนานักเรียน ในโรงเรียนวิถีพุทธ สังกัดสนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 1. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.