รูปแบบการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพความต้องการจำเป็นในการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรมของโรงเรียนประถมศึกษา และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรมของโรงเรียนประถมศึกษา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยมีขั้นตอนการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครู จำนวน 258 คน ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 11 รูป/คน และการสนทนากลุ่ม โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 รูป/คน และขั้นตอนที่ 3 การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบประเมินรูปแบบ โดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 90 คน สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความต้องการจำเป็นในการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา มีค่าความต้องการจำเป็นทั้ง 5 ด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ วิธีการ แนวคิด สื่อการเรียนการสอน การบริหารจัดการ และกระบวนการ ตามลำดับ 2) รูปแบบการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรมของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) การบูรณาการ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วยแนวคิด วิธีการ กระบวนการ สื่อการเรียนการสอน การบริหารจัดการ (4) การนำไปใช้ (5) การประเมินผลการใช้รูปแบบ และ 3) การประเมินรูปแบบการบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านมีผลการประเมินในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นประโยชน์ ด้านความถูกต้อง ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้ แสดงว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม มีความถูกต้อง มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ สรุปเป็นองค์ความรู้จากการวิจัย “EMS”
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กองกฎหมายการศึกษาและวัฒนธรรม. (2562). เจตนารมณ์พระราชบัญญัติพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
จงดี เพชรสังคูณ และจุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์. (2564). การบริหารสถานศึกษาตามหลักสัปปุริสธรรม 7. มจร อุบลปริทรรศน์. 6(1). 601.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
ประยูร บุญใช้. (2561). การสังเคราะห์งานวิจัยที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง : โมเดลซิปปา (CIPPA Model) ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 10(28). 77 - 80.
พระจำรัส ฐิตธมฺโม. (2554). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการบริหารจัดการชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนวัดใหม่พิเรนทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตโต). (2561). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาคมเพชร วชิรปญฺโญ (เรืองผา). (2553). การนำหลักสัปปุริสธรรม 7 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิเชฐ โพธิ์ภักดี. (2553). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนนิติบุคคล สังกัดสพนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุวธิดา ม่วงเจริญ และสุรชัย มีชาญ. (2558). การประเมินการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8(1). 1062.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 2(4). 9 - 13.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2547). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ศรี ปาณะกุล. (2543). การประเมินหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้. กระทรวงศึกษาธิการ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). ข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ปีการศึกษา 2564. สมุทรปราการ: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสมุทรปราการ.
สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย สพฐ. (2565). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มา https://webs.rmutl.ac.th/assets/upload/files/2016/09/20160908101755_51855.pdf สืบค้นเมื่อ 24 พ.ย. 2565.
อัมพร วงศ์โสภา. (2555). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงพุทธตามหลักสัปปุริสธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาความคิดเห็นของประชาชน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฮิวจ์ เดลานี. (2565). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. แหล่งที่มาhttps://www.unicef.org/thailand/th/stories/ สืบค้นเมื่อ 24 พ.ย. 2565.
Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.