ผลการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซี ไอ อาร์ ซี เสริมด้วยผังกราฟิกเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังเรียนที่ได้รับการสอนด้วยการเรียนแบบร่วมมือแบบ ซี ไอ อาร์ ซี เสริมด้วยผังกราฟิก 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนด้วยการเรียนแบบร่วมมือแบบ ซี ไอ อาร์ ซี เสริมด้วยผังกราฟิกและวิธีปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 44 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามาถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทยแบบปรนัย จำนวน 40 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มไม่เป็นอิสระกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือแบบ ซี ไอ อาร์ ซี เสริมด้วยผังกราฟิกมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.18 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 32.14 นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยการเรียนแบบร่วมมือแบบ ซี ไอ อาร์ ซี เสริมด้วยผังกราฟิกมีความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทยหลังเรียนสูงกว่าวิธีวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และจีรวัฒน์ อินทรพร. (2556). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2559). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์เปอเรชั่น.
นภาวรรณ ขาวผ่อง. (2557). ผลสัมฤทธิ์ในการอ่านจับใจความด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (ซี ไอ อาร์ วี) ผสมผสานวิธีคิดไตร่ตรอง 3 นาทีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ปานทิพย์ ปัดถาวะโร. (2549). ผลการใช้การเรียนแบบร่วมมือแบบ CIRC ต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทยเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป.
โรงเรียนบ้านหมากแข้ง. (2564). รายงานการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน ปีการศึกษา 2564. อุดรธานี: โรงเรียนบ้านหมากแข้ง.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018 : บทสรุปสาหรับผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและตาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกฉางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2552). หลักและวิธีการสอนอ่านภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สุวรรณี วงศ์จันทร์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อิทธิเดช น้อยไม้. (2560). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
Schmidt, R. J., Rozendal, M. S., Gretchen, G. & Greenman. (2002). Reading instruction in the inclusion classroom: Research-based practices, Remedial and Special Education. 23(3). 130-140.
Slavin, R.E. (1995). Cooperative leaning theory, research and practice. Massachusetts: Asimon and Schuster.
Steven, R.J. & R.E Slavin. (1995). Effects of cooperative learning approach in reading and writing on academically handicapped and non – handicapped students. The Elementary School Journal. 95(8). 241-262.
Stevens, R. J., Madden, N. A., Slavin, R. E. & Farnish, A. M. (1987). Cooperative Integrated reading and composition: Two field experiments. Reading Research Quarteely. 22(4). 433-454.