รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้การประเมินเชิงการพัฒนาที่เหมาะ สำหรับสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายศูนย์ยวพัฒน์ มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์

Main Article Content

ปัญวรรณ์ สมบูรณ์ยิ่ง
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต
ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้การประเมิน เชิงการพัฒนาที่เหมาะสำหรับสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายศูนย์ยวพัฒน์ มูลนิธิรัฐบุรุษฯ ใช้การวิจัยเชิงปริมาณควบคู่การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฯ 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้การประเมินเชิงการพัฒนาฯ 3) การประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้การประเมินเชิงการพัฒนาฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูหัวหน้างานวิชาการ ครูผู้สอน ประธานกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวม 80 คน และผู้ให้ข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการประเมินเชิงการพัฒนา 7 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกผลการสังเกตแบบมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินการใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นฯ 3 อันดับแรก ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการ กระบวนการจัดการเรียนรู้ และสภาพแวดล้อมและการบริการ 2) รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาฯ มี 5 องค์ประกอบ คือ การร่วมกำหนดเป้าหมายเพื่อการพัฒนา วิเคราะห์ความซับซ้อนที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงกำหนดเครื่องมือเพื่อวางระบบการทางานที่เน้นการใช้ประโยชน์ ดำเนินการพัฒนาทีมงานและกลุ่มเป้าหมาย และประเมินผลเพื่อปรับแผนงานและพัฒนาได้ทันเวลา 3) ผลการประเมินรูปแบบฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยหลังการทดลองใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนทดลองใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

How to Cite
สมบูรณ์ยิ่ง ป., สิกขาบัณฑิต เ., & ศรีประเสริฐภาพ ข. (2023). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้การประเมินเชิงการพัฒนาที่เหมาะ สำหรับสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เครือข่ายศูนย์ยวพัฒน์ มูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 10(1), 441–460. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/261893
บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา. (2561). การประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก (2 ก.พ. 2561).

ระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2565). นวัตกรรมและการศึกษา. แหล่งที่มา https://info.dla.go.th/onepage/info02.jsp. สืบค้นเมื่อ 2 ก.พ. 2565.

วิจารณ์ พานิช. (2563). Developmental Evaluation สำคัญอย่างไร ทำไมครูต้องใช้พัฒนาระบบวัดประเมิน. แหล่งที่มา https://iamkru.com/2021/05/12/development-evaluation/. สืบค้นเมื่อ 5 ธ.ค. 2564.

สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย. (20 ก.ค. 2560). การจัดการท้องถิ่น. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ สัปดาห์วิจารณ์. 64(44). (20 ก.ค. 2560).

สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

อิสระ กุลวุฒิ, สุรีพร อนุศาสนนันท์, และสมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2563). รูปแบบการประเมินระหว่างเรียน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 10(2). 21-33.

Alison Laycock, Bailie, J., Matthews, V. et al. (2019). Using developmental evaluation to support knowledge translation: reflections from a large-scale quality improvement project in Indigenous primary healthcare. Health Res Policy Sys. 17. 70.

Patton, M.Q. (2010). Developmental Evaluation. Applying Complexity Concepts to Enhance Innovation and Use. New Yoke: The Guilford Press.

Peter Senge. (2017). The iceberg model for guiding systemic thinking. From http://www.Socialincilico. wordpress.com Retrieved February 2, 2020.