ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยบรรยาย (Descriptive) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนหอวัง จำนวน 145 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกรในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังตามแนวคิดคุณลักษณะนวัตกรในภาพรวม คือ 0.138 (PNImodified = 0.138) โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาครูโรงเรียนหอวังจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดพบว่า ด้านการมีแรงบันดาลใจในการคิดอย่างสร้างสรรค์มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNImodified = 0.175) รองลงมา คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์และเป็นผู้นำในการวางแผน (PNImodified = 0.156) ด้านความสามารถคิดแก้ปัญหา (PNImodified = 0.147) ด้านกล้าเสี่ยง (PNImodified = 0.145) ด้านมีความยืดหยุ่นและอดทน (PNImodified = 0.142) ด้านมีความมั่นใจในตนเอง (PNImodified = 0.112) และด้านนักปฏิบัติที่มีความสามารถและการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีความจำเป็นน้อยที่สุด (PNImodified = 0.099)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
จตุรงค์ ธนะสีลังกูร. (2559). อัตลักษณ์ภาวะผู้นำของผู้อำนวยการโรงเรียน : การปฏิบัติแห่งความเป็นเอกัตบุคคล. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 3(2). 19-30.
ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์. (2563). ภาวะผู้นำทางการบริหารการพัฒนา. แหล่งที่มาhttps://pubhtml5.com/egty/odwe/basic. สืบค้นเมื่อ 17 พ.ค. 2564.
ตรีทิพย์ บุญแย้ม. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลและระดับกลุ่มงานเพื่อสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ในบริษัทเอกชนของไทย. ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ประภาภรณ์ พลเยี่ยม. (2560). การพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับสื่อสังคมออนไลน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พนิดา มารุ่งเรือง. (2552). ความเชื่อมั่นในตนเองของบัณฑิตมหาวิทยาลัยธนบุรีก่อนเข้าสู่สถานประกอบการ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยธนบุรี.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2561). การบริหารการศึกษาใหม่: New Education Governance. การประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร. เอกสารประกอบการประชุมของ (ราชบัณฑิตยสภา). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พิรุณ ศิริศักดิ์. (2562). มหกรรมการศึกษาเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูครั้งที่ 12 ชูหลักสูตร เทคโนโลยีดิจิทัล “ครู” เป็นต้นแบบสร้างนวัตกร. แหล่งที่มา https://www.prachachat.net/education/news-389049. สืบค้นเมื่อ 18 ม.ค. 2564.
เลิศศิลป์ รัตนมุสิก และคณะ. (2562). รายงานผลการปฏิบัติงานโรงเรียนหอวัง กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนหอวัง.
วสันต์ สุทธาวาศ และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ความเป็นนวัตกรทางการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาครัฐ: การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(2). 281-300.
วสันต์ สุทธาวาศและพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมระดับบุคคลในสานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8(1).
Goodson and Hargreaves. (2005). Educational Change Over Time? The Sustainability and Nonsustainability of Three Decades of Secondary School Change and Continuity. Research Article. Spencer Foundation-funded project of long-term educational.
Kanter, R. M. (1988). When a Thousand Flowers Bloom: Structural, Collective, and Social Conditions for Innovation in Organization. Research in Organizational Behaviour. 10. 169-221.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.