การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพัฒนาการด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ พฤติกรรมในการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ซึ่งเป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง โดยแหล่งข้อมูลของการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้งสิ้น 25 คน มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ประเภท คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมในการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ใช้สูตรคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมในการเรียน และความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียน ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับพัฒนาการสัมพัทธ์ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนในภาพรวมนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 61.99 ของปริมาณที่ควรพัฒนาได้ โดยแบ่งเป็นนักเรียนที่มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อยู่ในระดับสูงมากคิดเป็นร้อยละ 28 ระดับสูงร้อยละ 40 ระดับกลางร้อยละ 28 และระดับต้นร้อยละ 4 2) พฤติกรรมในการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาอยู่ในระดับดี 3) ความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยวิธีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). เทคนิควิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อขับเคลื่อนจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชานนท์ ปิติสวโรจน์, นพพร ธนะชัยขันธ์, และสุดาพร ปัญญาพฤกษ์. (2560). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องโจทย์ปัญหาการบวกและการลบโดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิจัย. 8(1). 57-69.
ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภารัตน์ แร่นาค และ วิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 21(3). 102-112.
นัยนา ไพจิตต์ และ คงรัฐ นวลแปง. (2557). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา. 12(2). 101-108.
ปัทมา เต่าให้. (2549). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรม การคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ฤชามน ชนาเมธดิสกร, สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์, และอาพันธ์ชนิต เจนจิต. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของ Polya ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 19(3). 267-282.
วรางคณา สำอางค์, พรชัย ทองเจือ, และผ่องลักษม์ จิตต์การุญ. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดของโพลยา. มนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 11(1). 52-61.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลากาญจน์ รุ่งเรือง, วีระศักดิ์ ชมภูคำ, และพิชญ์สินี ชมภูคำ. (2559). การพัฒนาทักษะการแก้โจทย์ปัญหาประยุกต์ทางคณิตศาสตร์และทักษะการทำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารบัณทิตวิจัย. 7(2). 107-121.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2563). ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต. แหล่งที่มา https://www.niets.or.th/th/catalog/view/2989 สืบค้น 25 เม.ย. 2563.
อมรินทร์ อำพลพงษ์. (2559). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Polya, G. (1957). How to Solve It. 3rd ed. New York: Doublebay.