A STUDY OF THE DEVELOPMENT GUIDELINES OF TEACHING TECHNIQUES OF TEACHERS IN THE 21ST CENTURY OF BUDDHIST SUNDAY SCHOOL MAHACHULALONGKORNRAJAVIDYALAYA UNIVERSITY
Main Article Content
Abstract
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคนิคการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเทคนิคการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริหารครูสอนของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 107 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการใช้เทคนิคการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และด้านความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม 2) แนวทางการพัฒนาเทคนิคการสอนของครูในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ ครูควรถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ฝึกให้นักเรียนคิดอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีเหตุผล รู้จักคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาเป็น ควรปรับปรุงหลักสูตรให้มีความเหมาะสมกับวัยผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มีเทคนิคการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง มีแอพลิเคชั่น การ์ตูนแอนิเมชัน ให้นักเรียนได้เรียนรู้ ในการสร้างนวัตกรรมสิ่งใหม่ ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชีวิตของตนและการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
References
กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). คู่มือการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ปีงบประมาณ 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นวพร ชลารักษ์. (2558). บทบาทของครูกับการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น. 9(1).
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุปผา พูลทาจักร์. (2549). การประเมินการดำเนินงานศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประเวศ เวชชะ. (2557). การจัดการเรียนรู้กลุ่มวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ปาริชาติ เภสัชชา. (2558). การพัฒนาสมรรถนะครูผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา. 12(59). 95-104.
พระครูสารกิจไพศาล (ณัฐวุฒิ ปิยปุตฺโต), สมศักดิ์ บุญปู่, พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน. (2562). รูปแบบการพัฒนาทักษะของครูในโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ของวัดในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 1. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(5). 1296-1305.
วรลักษณ์ คำหว่าง. (2559). การศึกษาแนวทางพัฒนาทักษะครูในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย
ราชภัฏพิบูลสงครามพิษณุโลก.
วันเพ็ง ระวิพันธ์, สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย, เกษม แสงนนท์, อำนาจ บัวศิริ. (2562). แนวทางการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการจัดการเรียนรู้ของครูตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 6(1). 116-129.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. in Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic Matin Ed. New York : Wiley & Son.