Development of Learning Package in Dharma Principle on Buddhist Holy Days for Developing Achievement of 9th Grade Students of Watsothornwararamworawihan School, Muang District, Chachoengsao Province
Main Article Content
Abstract
การพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดโสธรวรรารามวรวิหาร อำเภอเมือง
จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานการศึกษามัธยมเขต ๖ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง
หลักธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/
๘๐เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หลังใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมในวัน
สำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓โรงเรียนวัดโส
ธรวรารามวรวิหารอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราและเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้ชุดการ
เรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
มัธยมศึกษาปีที่ ๓โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหารอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ผลการวิจัยดังกล่าว พบว่า :
๑. ผลการพัฒนาชุดการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
ที่สร้างขึ้นนั้น พบว่า มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1) ๘๗.๖๑/(E2) ๘๔.๙๕ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
ปกติ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ต่อชุดการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรม
ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓
โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราพบว่า อยู่ในเกณฑ์ที่โดยรวมแล้วนักเรียน
มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
๓. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้หลังใช้ชุดการเรียนรู้ เรื่อง หลักธรรมในวันสำคัญ
ทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนวัดโส
ธรวรารามวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนมีอัตรา
สูงขึ้น โดยมีคะแนนเฉลี่ย ก่อนการใช้ เท่ากับ ๒๖ หลังการใช้ เท่ากับ ๓๔ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
คาดไว้ระดับ .๐๕ และค่าเฉลี่ยร้อยละหลังการใช้ชุดการเรียนรู้ เท่ากับ ๘๔.๙๕ พบว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่
คาดหวังไว้ คือ ร้อยละ ๘๐
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฉบับนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้นเพียงผู้เดียว และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกบทความลงตีพิมพ์และจะแจ้งให้เจ้าของบทความทราบหลังจากผู้ประเมินบทความตรวจอ่านบทความแล้ว
ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำ เว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร