การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน

Main Article Content

Sukhontarat Soythongdee
Narisa Konkitsuwan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางภาษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กำหนดให้นักเรียนร้อยละ 60 มีคะแนนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 60 ขึ้นไป  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้รูปแบบการวิจัยการทดลองขั้นพื้นฐาน (Pre-Experimental Designs) แบบแผน One Group Pretest-Posttest  กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ บทเรียนจำนวน 1 บท แผนการจัดการรู้โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 8 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินตัวแปร แบ่งเป็น 2 ด้าน คือ เชิงปริมาณ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังเรียน และเชิงคุณภาพ ได้แก่ แบบบันทึกความสามารถในการคิดวิเคราะห์จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าร้อยละ (%)

          ผลการวิจัยพบว่าจากการทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบก่อนเรียนได้ผ่านเกณฑ์จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 11.43 เมื่อทดสอบหลังเรียนพบว่า นักเรียนสามารถทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์เป็นจำนวนมากขึ้น คือ นักเรียนทำแบบทดสอบผ่านเกณฑ์จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้

 

Abstract

 The objective of this research was to develop Grade 1 Students’ analytical thinking in language learning by Problem-based Learning (PBL).  Sixty percent of students were specified to pass the criterion for 60% up.  Data were collected by using the Pre-Experimental Designs 

as One Group Pretest-Posttest.  The target group of this study consisted of 70 Grade 1 Students of Khon Kaen University Demonstration School, Primary Education (Education), Naimuang Sub-district, Muang District, Khon Kaen Province.  There were 2 kinds of research instrument including:  1) the instrument using for data collection consisted of 1 chapter of lesson, and 8 lesson plans by learning activity management as problem-based learning, and 2) the instrument using for evaluating the variable, consisted of 2 aspects:  quantitative evaluation included the pretest and posttest of Analytical Thinking, and qualitative evaluation included the Record Form of Analytical Thinking from learning activity management by Problem-based learning.  The statistic using for data analysis consisted of the Mean (  ), and Percentage ( % ).   

                   The research findings found that:

          According to the pretest and posttest of Analytical Thinking Ability, 8 students, 11.43%, were able to pass criterion.  For the posttest, found that the increased number of students could pass the criterion since 50 students, 71.43%, were able to pass the criterion. It was indicated that the learning activity by Problem-based learning, could develop Grade 1 Students’ analytical thinking, Khon Kaen University Demonstration School, Primary Education (Education), in higher level than the specified criterion.   

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)