การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ แบบปกติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาระหว่างก่อนเรียนกับหลังหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชุมชนบ้านวังกระดาษเงิน ตำบลท้ายดง อำเภอวังโป่ง จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 25 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เพื่อให้ได้ห้องเรียน จำนวน 2 ห้องเรียน ได้แก่ ป.4/1และ ป.4/2 แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) อีกครั้งหนึ่งด้วยการจับฉลากห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา จำนวน 4 แผน 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 4 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ
ผลการวิจัย
1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
Abstract
The objectives of this research have the two main points.Firstly,the companision of the students learning achievement with integrated learning management by using educated STEM learns before and after in learning process.Seccondly,the comparision of the students learning achievement with integrated learning management by using educated STEM manages in the normal learning for students.The experimental group of this research is the elementary students of four grade at chumchonbaanwangkradadngiern school, Tambon Taidong,Wangpong district,Petchabun Province,The second semester in academic year 2016.There fore,50 students were experimented and divided in two groups with the two classrooms.The researcher divides the experimental group with 25 students per classroom by using Cluster Random Sampling for getting the two classrooms such as4.1 grade and 4.2 grade students.students.The researcher uses sample random sampling again with drawing lots for deviding into the experimental classroom group and the controlled classroom group then.Moreover,the experimental group was managed by integrated learning with educated STEM,and the controlled group was learnt by the normal learning system.The there main materials of this research are significant.First,the four plans of the integrated learning management with educated STEM,the four normal learning management plans,the 30 topics of the learning achievement are managed.
The results of this research
1.The students were managed with integrated learning by using educated STEM resulting the post-test scores are higher than the pre-test scores at 0.1 level significantly.
2.The students were studied by using educated STEM with integrated learning management having the learning achievement higher than the students who were managed by the normal learning management at 0.1 level significantly.
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กมลฉัตร กล่อมอิ่ม.(2559).การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.18(4),334-335.
จณาพิชญ์ อาสนาชัย, วัลลภา อารีรัตน์ และอรุณศรี อึ้งประเสริฐ.(2556).การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์เรื่อง รูปสามเหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.36(4),33-34.
ดวงพร สมจันทร์ตา.(2559).การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการเรียนตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่องกายวิภาคศาสตร์ของพืช.วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี ,ประสาท เนืองเฉลิม และปิยะเนตร จันทร์ถิระติกุล.(2558).การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูงและเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ.วาสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.9(ฉบับพิเศษ).410-411.
ศูนย์สะเต็มศึกษาแห่งชาติ.(2559).คู่มือหลักสูตรอบรมครูสะเต็มศึกษา.กรุงเทพฯ:สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,กระทรวงศึกษาธิการ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.(2558).คู่มือจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษา ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของ สกสค.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2559).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12(พ.ศ.2560-2564).สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560,จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th.
Roger, Sebraw and Ronning. (1997). Experimental Design: Procedure for the BehavioralSciences. 3rd ed . California: Brooks/Cole.
Scott,C.(2012).An Investtigation of Science,Tecnology,Engineering and Mathematics (STEM) Focused High School in the U.S. Journal of STEM Education,13(5),30-39.
Weir , John Joseph. 1974. Problem Solving is Every body’s Problem, The Science Teacher. 4 (April),16–18.