ผลการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนหลากหลายชาติพันธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนหลากหลายชาติพันธุ์เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม การเคารพสิทธิของผู้อื่น และการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม หลังจากครูได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการตามรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนหลากหลายชาติพันธุ์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนบ้านแม่อ้อใน อำเภอเชียงดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 ประกอบด้วย คณะครู จำนวน 9 คน นักเรียน จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ หลักสูตรการอบรมเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับครู คือ 1) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน 3) แบบบันทึกคุณลักษณะของนักเรียน และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับนักเรียน คือ 1) แบบสอบถามการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) แบบสอบถามการเคารพสิทธิของผู้อื่น 3) แบบสอบถามการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และ 4) การเขียนสะท้อนคิด ครูดีที่ฉันรัก สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า RAI และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ ครูได้ปฏิบัติการสอนจริงในห้องเรียนหลากหลายชาติพันธุ์ ครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนการสอน โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (RAI) อยู่ระหว่าง 0.80-0.99 นักเรียนทุกระดับชั้นมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในลักษณะที่ดีขึ้น เช่น การยอมรับความแตกต่างของผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น และความภาคภูมิใจในตนเอง ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของนักเรียน พบว่า หลังการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูในห้องเรียนหลากหลายชาติพันธุ์ นักเรียนมีคุณลักษณะการยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในระดับยอมรับมากที่สุด จากร้อยละ 38.60 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 42.66 การเคารพสิทธิของผู้อื่น จากพฤติกรรมที่เคยแสดงออกถึงการไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น ทางด้านร่างกาย ด้านวาจา และด้านเพศ ลดลง จากร้อยละ 3.42 เป็น ร้อยละ 1.73 และด้านการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นจาก 3.83 เป็น 4.06 นักเรียนชอบครูที่สอนให้เป็นคนดี มีมารยาท มีน้ำใจ อยู่อย่างพอเพียง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
Abstract
The main objective of this research was to study the result of developing teacher’s management competencies for teaching in multi-ethnic classrooms. Teachers were trained using the developed model. It would provide the students characteristics of acceptance of multicultural, respect the rights of others and cohabitation in a multicultural society. The populations were 9 teachers and 143 students of Mae-Aor-Nai school. The research instrument was workshop program curriculum. The research instruments of teacher were 1) teaching observation form and 2) student’s characteristic record form. The research instruments of student were 1) the questionnaire on acceptance of multicultural 2) the questionnaire on respecting the rights of others 3) the questionnaire on cohabitation in a multicultural society and 4) the student reflection assay about “the good teacher whom I love”. Data were analyzed by using percentage, average, standard deviation, RAI value and content analysis. The result showed that the student behavior such as distinction acceptance, working with other, and proud in themselves change in a better way after teacher trained and taught in multi-ethnic class. Teacher gained higher teaching competency with the RAI between 0.80 and 0.99. The result of student characteristic analysis found that the acceptance of multicultural is the highest level was 38.6%, increased to 42.66%. Some student behaviors that referred to the non-respect of multicultural decreased from 3.42% to 1.73%. The cohabitation in multicultural, the average were increased from 3.83 to 4.06. The students appreciated the teachers who taught them to be good person, good manners, be sufficient man, and can apply their knowledge in everyday life.