การศึกษาผลการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารด้วยนวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน ซึ่งเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 3 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารจำนวน 6 แผน เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกวีดีทัศน์ กล้องบันทึกภาพนิ่ง แบบบันทึกกิจกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิเคราะห์โพรโทคอลโดยการเขียนเชิงพรรณนาเชิงคุณภาพตามขั้นตอนการศึกษาชั้นเรียน
ผลการวิจัยพบว่า ในขั้นวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกันนั้น ผู้วิจัยและนักศึกษาครูได้กำหนดวัตถุประสงค์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมโดยเขียนครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน (KPA) จากนั้นได้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทั้งหมด 5 ขั้นตอน เน้นการออกแบบกิจกรรมที่หลากหลายทั้งกลุ่มและเดี่ยว ได้แก่ Jigsaw activity, Whispering game, RRWP เกมเปิดแผ่นป้าย เกมจับคู่ สร้างบทสนทนาด้วยตนเอง แสดงบทบาทสมมติ ซึ่งกิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เน้นการฝึกและการใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษ ทั้ง 4 ทักษะ ได้แก่ ฟัง พูด อ่าน เขียน ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ได้กำหนดให้นักเรียนได้ใช้ทุกทักษะ อีกทั้งผู้วิจัยและนักศึกษาครูได้ร่วมกันตัดสินใจเลือกใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ สำหรับการจัดการเรียนการสอน จากการที่ผู้วิจัยและนักศึกษาครูได้วางแผนร่วมกันจึงทำให้แผนการจัดการเรียนรู้มีความสมบูรณ์ นักศึกษาครูมีความมั่นใจขึ้น กล้าคิด กล้าพูดแสดงความคิดเห็น ส่วนขั้นการสังเกตการสอนร่วมกัน เป็นการนำแผนการจัดการเรียนรู้ที่วางแผนร่วมกันไปใช้ในชั้นเรียนจริง โดยเป้าหมายสำคัญของการสังเกต คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารของกลุ่มเป้าหมายเป็นไปตามแผนและจุดประสงค์มากน้อยเพียงใดซึ่งผลที่ได้ก็คือทำให้ทราบถึงจุดเด่นจุดด้อยของการเรียนการสอนที่วางแผนไว้ ที่สำคัญผลที่ได้จากการสังเกตการสอนร่วมกันทุกแผนนั้นนำไปสู่การปรับปรุงในแผนการจัดการเรียนรู้ครั้งต่อไป สุดท้ายขั้นการสะท้อนผลร่วมกันเป็นการสะท้อนถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการจัดการเรียนรู้และแนวทางการแก้ไขปัญหาในแผนการจัดการเรียนรู้แต่ละแผนนำมาซึ่งการหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแผนการจัดการเรียนรู้ต่อๆ ไป ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนี้ทำให้แผนการจัดการเรียนรู้ และกระบวนการจัดการเรียนรู้มีข้อบกพร่องน้อยกว่าการวางแผนการจัดการเรียนรู้และการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยผู้สอนเพียงคนเดียว
A Study of EnglishInstructional Management Based on Communicative Language Teaching Using Lesson Study Innovation for English Major Students, Faculty of Education, LoeiRajabhat University
Abstract
The purpose of this research was to study of English instructional management based on communicative language teaching using lesson study innovation which is qualitative research. The target group consisted of three fourth-year students during the second semester of the 2015 academic year studying in English Instructional Management 2 was purposively selected. The research instruments consisted of 6 lesson plans based on Communicative Language Teaching, video recorded, camera, and observation form. The data were analyzed by protocol analyzing.
The findings;
Firstly, planning step; a researcher and three students, created six lesson plans based on Communicative Language Teaching. They discussed and shared the ideas, created the learning objectives related with learning standard and behavior learning objectives (KPA). Next, they designed the learning process based on five steps of Communicative Language Teaching which focuses on the various activities both individual and group work such as jigsaw activity, whispering game, matching game, conservation, role play, etc. These activities were created in learning process covered in four skills; listening, speaking, reading, and writing skills. In additional, a researcher and three students made some decision to choose the interesting materials for instructional. Therefore, when they planned, worked, thought & shared, helped together, they would have gotten the perfect lesson plans. Secondly, teaching and observation step; a researcher and target group observed a student who was teaching English on five steps of CLT. In fact, teaching process was the main point of the observation, this step’s results are the strengths and the weaknesses for the planning step. On the other hands, the most important things were the result from the observation could be improving for the next lessons. Finally, reflection step; reflective lessons were reflected about the problem issues happening while students were teaching; they found the ways to solve those problems, also improve in the next lesson plans. Therefore, the lesson plans and teaching processes have a less faults than planning and teaching alone.
Keywords: Communicative Language Teaching, Lesson Study Innovation
Article Details
References
เอกสารอ้างอิง
กรมวิชาการ. (2544). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ: ศูนยพัฒนาหลักสูตรกรมวิชาการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่3) พุทธศักราช 2553. [ระบบออนไลน์].แหล่งที่มา http//www.ratchakitcha.soc.go.th (9 ธันวาคม 2558)
ชาริณี ตรีวรัญญู . (2552). การพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษาตาม
แนวคิดการศึกษาผ่านบทเรียน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร
และเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล อินทร์ประสิทธิ์. (2552). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) : นวัตกรรมเพื่อพัฒนาครูและ
นักเรียน.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พฤกษะศรี. (2554).The new road 2: โครงการรณรงค์ให้คนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ทั่วประเทศ
เรียนภาษาอังกฤษ ง่ายเหมือนเรียนภาษาไทย.กรุงเทพฯ:ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตถาตา
พับลิเคชั่น จำกัด.
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์. (2554). รายงานการสังเคราะห์การบริหารจัดการงานวิชาการในสถานศึกษาที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน(Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด(Open Approach). ขอนแก่น: โรงพิมพ์ คลังนานาวิทยา.
สุวิทย ์ มูลคํา และคณะ. (2549). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2537). วิธีสอนภาษาอังกฤษ.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 2537
Baba, T. (2007).How is Lesson Study Implemented? Japanese Lesson Study in Mathematics Its Impact, Diversity and Potential for Educational Improvement. Singapore: World ScientificPublishing.
Inprasitha, M. (2010).One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand Designing Learning Unit. Proceeding of the 45th Korean National Meeting of Mathematics Education Dongkook University. (pp. 193-204). Korea: Gyeongju.
Larsen-Freeman, D. (2000). Techniques and Principles in Language Teaching.2nd Ed. Oxford: OUP.
Littlewood, W. (1981). Communicative Language Teaching: An Introduction London: Cambridge University Press.
Morrow, K.E. (1981). Communicative in the Classroom. Essex: Longman Group, Ltd.
Nunan, D. (1989). Designing Tasks for the Communicative Classroom. Cambridge : Cambridge University Press.
Widdowson, H.G. (1978). Teaching Language as Communication. Oxford: Oxford University Press.