ความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

Main Article Content

Chanadda Poohongthong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 2) เพื่อเปรียบเทียบความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกแตกต่างกัน และ 3) เพื่อทำนายความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูด้วยองค์ประกอบของทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระดับปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 90 คน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกและแบบวัดความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression)

          ผลการวิจัยพบว่า

          1) ตัวแปรเหล่านี้มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การมองโลกในแง่ดี (r = .882*) การหยุ่นตัว (r = .869*) การรับรู้ความสามารถตนเอง (r = .864*) ความหวัง (r = .830*) พลังการทำงาน (r = .794*) การยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ (r = .674*) การอุทิศตน (r = .524*) และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (r = .481*) สำหรับตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (r = .893*) พลังในการทำงาน (r = .876*) การอุทิศตน (r = .854*) ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก (r = .674*) การรับรู้ความสามารถตนเอง (r = .641*) การมองโลกในแง่ดี (r = .544*) การหยุ่นตัว (r = .553*) และความหวัง (r = .544*)

          2) กลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกสูงมีคะแนนความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพ (M = 5.27, SD = .45) สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกต่ำ (M = 4.17, SD = .44) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .001

          3) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถตนเอง ความหวัง การมองโลกในแง่ดี และการหยุ่นตัว สามารถอธิบายความแปรปรวนของความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพได้ร้อยละ 47 ตัวแปรการรับรู้ความสามารถ

ตนเองมีน้ำหนักในการทำนายความยึดมั่นผูกพันในวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความถดถอยมาตรฐาน (β) เท่ากับ .37

Abstract

          The objectives of this study were to study relationships between psychological capital (PSYCAP) and professional engagement in pre-service student teachers, to compare the differences of professional engagement in high and low PSYCAP and to predict pre-service student teachers’ professional engagement with factors of PSYCAP. Participants were  90 pre-service student teachers from faculty of Naresuan university. The quantitative methodology in this study and the instrumental research consisted of PSYCAP questionnaire and professional engagement questionnaire. The data was analyzed using descriptive statistics, Pearson correlation, and Multiple regression.

          The results are as follows:

          1) PSYCAP has significant positive correlation with optimism (r = .882*) resiliency (r = .869*) self-efficacy (r = .864*) hope (r = .830*) vigor (r = .794*) professional engagement (r = .674*) dedication (r = .524*) and  absorption (r = .481*).  Professional engagement has significant positive correlation with absorption (r = .893*) vigor (r = .876*) dedication (r = .854*) PSYCAP (r = .674*) self-efficacy (r = .641*) optimism (r = .544*) resiliency (r = .553*) and hope (r = .544*).

          2) High PSYCAP in pre-service student teachers (M = 5.27, SD = .45) have significantly higher score in professional engagement than low PSYCAP pre-service student teachers (M = 4.17, SD = .44).

          3) Factors of PSYCAP; self-efficacy, hope, optimism, and resiliency can predict professional engagement about 47%. Self-efficacy can significantly predict professional engagement with standardized regression coefficient (β) = .37.

Keywords: Psychological capital, Professional engagement

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)