การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนจำแนกตามตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 กลุ่มตัวอย่าง (Samples) ที่ใช้ในการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Kreicie & Morgan จึงได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 261 คน ประกอบด้วยผู้บริหาร 15 คน ผู้ปฏิบัติการ 246 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การหาค่าความสอดคล้อง IOC ระหว่าง 0.66 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบสมมติฐาน ค่าที t- test แบบ Independent และ การทดสอบค่าเอฟ (F - test) หรือการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ONE – WAY ANOVA)
- สภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 โดยภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้านโดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการบริหารงานวิชาการ รองลงมาคือด้านการบริหารงานทั่วไป ด้านการบริหารงานงบประมาณตามลำดับ ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำที่สุดคือ ด้านการบริหารงานบุคคล แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายหลักพบว่าการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกหลัก โดยหลักที่มีค่าเฉลี่ยเรียกจากมากหาน้อยคือหลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม ส่วนหลักที่มีการปฏิบัติที่สุดคือหลักความโปร่งใส
2 การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลจำแนกตามตำแหน่งและขนาดของโรงเรียนดังนี้
2.1 ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อ สภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล จำแนกตามตำแหน่งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติการ มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
2.2 การเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล จำแนกตามขนาดของโรงเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ.05
Good Governance – Based Administration of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 25
Abstract
The purposes of this research were 1) to study the practice of good governance – based administration of schools under the Secondary Educational Service Area Office 25 and 2) to compare opinions on such practice distinguished by the positions of the respondents and the size of the schools. The sample group of 261 persons consisted of 15 administrators and 246 practitioners. The instruments for data collection were 5 – level rating scale questionnaires with the IOC value between 0.66 – 1.00. Percentage, mean, standard deviation, t – test and F – test were used to analyze the data.
The research findings were as follows:
- On the whole the good governance – based administration of schools under the Secondary Educational Service Area Office 25 was rated high. Considered by aspects, all were rated high, with the academic administration aspect being the highest, followed by general and budget administration aspects, with personnel administration ranking at the bottom. Considered by principles, all were rated high, with the following high – low ranking order : participation, cost – worthy, accountability, rule of law, morality and transparence at the bottom.
- In comparison the findings were:
2.1 No difference was found between the opinions of the administrators and the practitioners.
2.2 The opinions of the personnel of schools with different sizes differed at the .05 level of statistical significance.
Keywords: Good Governance