การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา และเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดย ระยะที่ 1 คือ นักศึกษา ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 376 คนและระยะที่ 3 คือ นักศึกษา ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้อง ห้องละ 25 คน ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง จัดเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียนและโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา ระยะที่ 1 พบว่าระดับความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียนของนักศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา อยู่ในระดับปานกลาง ระยะที่ 2 พบว่าการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียน ประกอบด้วย 2 ชุดกิจกรรม จำนวน 6 ครั้ง โปรแกรมย่อยชุดที่ 1 จำนวน 4 คาบ 1 ครั้ง คือ กิจกรรม ความสำคัญของการตั้งเป้าหมาย และโปรแกรมย่อยชุดที่ 2 จำนวน 30 คาบ 5 ครั้งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดแทรกองค์ประกอบการตั้งเป้าหมายเข้าไปในการเรียนการสอน วิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนวและระยะที่ 3 พบว่าผลของโปรแกรมส่งเสริมความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียน หลังการทดลอง กลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรมฯมีความสามารถการตั้งเป้าหมายในการเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
This research aimed to study the enhancement for goal orientation in learning ability of students, to develop the program development of the enhancement for goal orientation in learning ability of students, and to study the result of the program development of the enhancement for goal orientation in learning ability of students at Faculty of Education, Nakhon Ratchasima Rajabhat University. The sample group of this study was divided into 2 stages as follows; stage 1 was 376 students in the Faculty of Education of Nakhon Ratchasima Rajabhat University during the second education semester in 2015, and stage 3 was 2 classes of 25 students (each class) in the Faculty of Education of Nakhon Ratchasima Rajabhat University during the second education semester in 2015. These samples were selected randomly as the experimental group and the control group. The tools used in this study included an enhancement for goal orientation in learning ability test and a program development of the enhancement for goal orientation in learning ability. All data was analyzed by statistics, including average, standard deviation and t-test. Results of studying in stage 1 found that the enhancement for goal orientation in learning ability of students at Faculty of Education, Nakhon Ratchasima Rajabhat University was moderate.In stage 2, it was found that the development of program development of the enhancement for goal orientation in learning ability consisted of 2 sets of activities with 6 periods; including the first sub-program of 4 sessions for 1 period as the activity on the importance of goal orientation, and the second sub-program of 30 sessions for 5 periods as the learning activity on compositions of goal orientation in the instruction of Psychology for counseling and guidance.
The result of studying in stage 3 found that, for the result of the program development of the enhancement for goal orientation in learning ability after the experiment, samples participated in the program were able to target educational goals higher than before the experiment at a statistically significant level of .05.
Keywords: Goal orientation, Enhancement, Learning ability