ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารในโรงเรียนดีเด่น : พหุกรณีศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารในโรงเรียนดีเด่นประกอบด้วย 1) ด้านวิสัยทัศน์ มีทักษะ การวางแผนเพื่ออนาคต แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นทางปัญญา และการ คำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล 2) ด้านความรู้และทักษะ มีทักษะทางเทคโนโลยีที่ดี จัดการข้อมูลสารสนเทศ และ ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการศึกษา มีทักษะการจัดองค์กร มีความรู้และทักษะในภาระงาน นิเทศ ติดตาม และเยี่ยม ชั้นเรียนสม่ำเสมอ และสามารถบริหารจัดการความขัดแย้งได้ดี 3) ด้านบุคลิกภาพ มีความฉลาดทางอารมณ์ น่าเชื่อ ถือศรัทธา กระทำตนเป็นแบบอย่าง มีความเป็นผู้นำ มีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน ยืดหยุ่นปรับตัวได้อย่างเหมาะสม 4) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ปฏิบัติตนตามหลักคุณธรรมจริยธรรมและบรรทัดฐานที่ดีของสังคม รวมทั้งมาตรฐานและจรรยา บรรณวิชาชีพครู คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ทำงานยึดหลัก กฎหมาย แนวปฏิบัติของทางราชการ มีความคิดทัศนคติและจินตนาการเชิงบวก มีความยุติธรรม คำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสขุ 5) ด้านการจัดการเรียนรู้ให้ความสำคัญกับผู้เรียนสูงสุด จัดกิจกรรมที่หลากหลาย มีทักษะอำนวย การวางแผน และดำเนินงานให้สำเร็จ บริหารหลักสูตรสอดคล้องกับสภาพผู้เรียนชุมชน และท้องถิ่น มีความรู้และทักษะ ในการพัฒนาครู ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ฝึกปฏิบัตินักเรียนให้มีพื้นฐานจิตใจที่ดีนำไปสู่การเรียนรู้ที่มี คุณภาพ นำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนรู้ 6) ด้านการพัฒนาทีมงาน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีทักษะการสื่อสาร มีกลยุทธ์การสร้างทีมงาน มีความเป็นประชาธิปไตย มีกลวิธีจัดการกับงานและเพื่อนร่วมงานที่ดี และมีกระบวนการปลูกฝังภาวะผู้นำ และ 7) ด้านการพัฒนาชุมชนและการมีส่วนร่วม มีศักยภาพเข้าใจบริบทของชุมชน สร้างความสัมพันธ์กับชุมชนอย่างเป็นระบบ มีเทคนิคการระดมทรัพยากรทางการศึกษา จัดกิจกรรมที่ตอบสนอง ต่อความสนใจและความต้องการของชุมชนให้บริการทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลกระทบที่เกิดจากการภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของผู้บริหารในโรงเรียนดีเด่น ประกอบด้วย 1) ผลกระทบ เชิงบวก (1) ด้านนักเรียน พบว่า มีวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีระเบียบวินัย มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย สุภาพเรียบร้อย สามัคคี มุ่งมั่นในการทำงาน ใฝ่เรียนรู้ มีสุขภาพกายสุขภาพจิตที่ดี อยู่ร่วมกัน บนความแตกต่างทางวัฒนธรรม (2) ด้านผู้บริหารครูและบุคลากร พบว่า มีความพึงพอใจในงาน มีความก้าวหน้า ในวิชาชีพ การเป็นแบบอย่างที่ดี การทำงานเป็นทีม มีความสุขในการทำงานมีความสำเร็จในการพัฒนาวิชาชีพ ครู และการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (3) ด้านโรงเรียน พบว่า โรงเรียนมีชื่อเสียงเป็นต้นแบบของนวัตกรรม ทางการศึกษา ต้นแบบคุณธรรมนำ ความรู้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ ศูนย์กลางการบริการประชาชน และโรงเรียน สุจริต (4) ด้านผู้ปกครองและชุมชน พบว่า มีความพึงพอใจ ความรู้สึกรับผิดชอบร่วมกันระหว่างบ้านวัดและ โรงเรียน ตอบสนองความต้องการของชุมชน 2) ผลกระทบเชิงลบ (1) ด้านนักเรียน พบว่า ภาระความรับผิดชอบ ของผู้นำ นักเรียนเพิ่มขึ้น ทำ ให้ไม่มีเวลาร่วมกิจกรรมอื่น ๆ ของโรงเรียนส่งผลให้บางคนมีทักษะทางกีฬา ทักษะ ทางศิลปะและดนตรีน้อย บางส่วนขาดทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ นักเรียนนอกเขตบริการมีเวลาอยู่กับครอบครัว น้อยลง (2) ด้านผู้บริหาร ครู และบุคลากร พบว่า ครูไม่ได้สอนเต็มเวลา มีภาระความรับผิดชอบต่องานและภาระ การบริหารจัดการชั้นเรียนเพิ่มขึ้น เกิดความเครียด ผู้บริหารมีเวลาบริหารจัดการโรงเรียนน้อยลง มีปัญหาในการ บริหารจัดการทีมงาน (3) ด้านโรงเรียน พบว่า มีภาระทางงบประมาณเพิ่มขึ้น ความจำ เป็นในการคงสภาพของ โรงเรียน มีภาระในการบริการชุมชน การติดตามตรวจสอบงบประมาณ และการบริหารจัดการการเงินบัญชี และ พัสดุมีปริมาณเพิ่มขึ้น (4) ด้านผู้ปกครองและชุมชน พบว่า การมีทัศนคติเชิงลบกับการระดมทรัพยากร เยาวชน บางส่วนใช้สื่อ เทคโนโลยีในทางที่ไม่เหมาะสม การมีกฎเกณฑ์ ระเบียบในชุมชนเพิ่มขึ้น และค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
The Effective Leadership of Outstanding School Adminnistrators : Multi – Case Studies.
Surachit Piungam1) Watana Suwannatrai2) Sawat Pothiwat3) and Somkiat Palajit4)
1) Department of Leadership in Educational Administration, Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University
2,),3) Asst. Prof, Department of Leadership in Educational Administration, Faculty of Education, Sakon Nakhon Rajabhat University
4) Khuasoong School Director, Sakon Nakhon Educational Service Area 3, Office of The Basic Education Commission, Ministry of Education
This study aimed to investigate and understand a phenomenon on effective leadership of outstanding school administrators and effects. Three schools under the offices of primary educational service area in the Northeast consisting of: a small school, a medium-sized school and a large school. Data were collected by the researcher through in-depth interviews, observation and recording, document analysis, focus group through key personnel in schools and those concerned, The triangular technique was employed to confirm reliability and validity of data from sources and types of data to be reliable.
The findings were as follows:
1. The characteristics of effective leadership on: 1) Vision included obtaining skills, future planning, searching for continuous knowledge, motivating creative thinking, exchanging knowledge and skills, change agent, idealized influence, inspirational motivation, intellectual stimulation, individualized consideration, 2) Knowledge and skills, good skills on technology, managing information communications and technology ,applying online media for education, obtaining skills on organizational management, obtaining skills on managerial management, gaining knowledge on job performance, supervision, monitoring regular visiting of classroom as well as being able to manage conflict. 3) Personality comprised obtaining emotional quotient, being respectable, being a model for others, owning leadership, having good attitudes toward job, being flexible and adjustable. 4) Morality consisted of behaving in accordance with moral and ethical principles and decent norms of society as well as standards and code of conduct on teaching profession, being aware of collaborative benefits, obtaining public-mindedness, obtaining responsibilities to self and society, working stuck up to laws, regulations, and guidelines of civil service, owning negative attitudes and imagination, obtaining justice with caring for collaborative happy living, 5) Learning management included paying ultimate attention to learners to live happily, conducting diverse activities, owning managerial skills, planning, and performing to achieve the goals set, managing the curriculum consistently with the learners, communities and localities, obtaining knowledge to for professional development of teacher, promote cultures of lifelong learning, training students to gain good mind leading to quality learning, applying modern media, innovation, technologies in learning. 6) Teamwork development comprised obtaining good human relationship, skills and communications, strategies on effective teamwork building, being democratic, obtaining strategies on job management and colleague management as well as owning process on embedding leadership. 7) Community and participation included obtaining potential in understanding the community context, building relationship with the communities systematically, owning techniques in mobilizing educational resources, conducting activities to meet the interests and needs of the communities as well as servicing the communities with effectiveness.
2. The effects originated from the effective leadership of the school administrators comprised: 1) On positive effect (1) On students : obtaining lifelong cultures, disciplines, public-mindedness, Thainess, decent behaviors, striving to working, eagerness for learning, good health both physical and mental health, living on differences of cultures. (2) On admininistrators, teachers and personnel : obtaining job satisfaction, professional advancement, being a good model, teamwork, happiness in working, achievements in developing teaching profession, being a person of learning. (3) On school : being place of fame, being a modelon educational innovation, being a model in morality leading knowledge and learning organization, (4) On parents guardians and communities: obtaining satisfaction responsibilities among homes temples and schools and meet the needs of the communities 2) On negative effect (1) On students : more responsibilities for student leader, lack of time for school extra activities, art and music, some students with lack of human relationship skills, those living out of the service areas having less time spent with families. (2) On adminnistrators, Teachers and personnel: teachers did not teach at the full load, working loads of increasing classroom management, administrators spending less time in the schools, more responsibilities and frustration, on management of teamwork. (3) On school : task on budgeting, retention of school status, workload of community service, increasing monitoring on budget, management of finance, accountancy and procurement, (4) On parents, guardians and communities: obtaining negative attitudes on resource mobility, some young people obtaining undesirable behaviors on using media and technology, obtaining more regulations, and orders in the communities, and increasing expenses as well.