การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนบ้านดอนศาลาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2

Main Article Content

ยาใจ เดชขันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียน บ้านดอนศาลา 2) ศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนบ้านดอนศาลา 3) ศึกษาผล ของการใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียนบ้านดอนศาลา 4) พัฒนาผลสั มฤทธิ์ ทางการเรี ยน ของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนศาลาให้สูงขึ้น กลุ่มผู้ร่วมวิจัย (Research Participants) จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 9 คน ได้มาโดยวิธีการสมัครใจและกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 2 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบ เจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการวางแผน (Planning) ขั้นตอนการปฏิบัติตามแผน (Action) ขั้นตอนการสังเกต (Observation) และขั้นตอน การสะท้อนผล (Reflection) ดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลครั้งนี้ ได้แก่ คู่มือการพัฒนาครู ด้านการวิจัยในชั้นเรียน แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม แบบประเมินโครงร่างและ แบบประเมินผลการทำวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยเทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation Technique) นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยาย

ผลการวิจัย พบว่า

ก่อนการพัฒนา ครูโรงเรียนบ้านดอนศาลามีปัญหาในด้านความรู้ ความเข้าใจ ขาดทักษะในการทำวิจัยใน ชั้นเรียนและมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง ด้านการวิจัยในชั้นเรียน เพื่อจะได้นำความรู้ไปพัฒนาการจัดการเรียน การสอนให้มีคุณภาพ เกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียน หลังจากการศึกษากลยุทธ์ในการพัฒนาครูด้านการวิจัยใน ชั้นเรียนที่ประสบผลสำเร็จ จึงได้กลยุทธ์ในการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน ประกอบด้วย การประชุมเชิงปฏิบัติ การและการนิเทศภายใน

หลังการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายใน ตามหลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงรอบ ผลการใช้กลยุทธ์ พบว่า

1. ครูโรงเรียนบ้านดอนศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการ วิจัยในชั้นเรียน ตั้งแต่หลักการและแนวคิดการวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์และการกำหนดปัญหาการวิจัยในชั้นเรียนการเขียนโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน การสร้างสื่อ/นวัตกรรมทางการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย โดยใช้คู่มือการพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ

2. กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศภายในทำให้ครูโรงเรียนบ้านดอนศาลา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษานครพนม เขต 2 สามารถทำการวิจัยในชั้นเรียนได้ โดยใช้กลยุทธ์การประชุมเชิงปฏิบัติการและการนิเทศ ภายใน

3. ครู โรงเรียนบ้านดอนศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 สามารถใช้ กระบวนการวิจัยพัฒนา คุณภาพการเรียนการสอนและคุณภาพของนักเรียนได้

4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านดอนศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2556 สูงกว่าปีการศึกษา 2555

 

Teachers Development on Classroom Action Research of Donsala School Nakhon Phanom Primary Educational Service Area Office 2

Dr.Yajai Detkhan*

*Director of Bandonsala School, Nakhon Phanom Primary Education al Service Area office 2

The purposes of this study were to 1) the strategy to develop teacher research classroom teacher 2) to study the outcomes of teacher’s development in classroom action research A group of 10 research participants comprised 9 participant teachers who were willing and volunteered to participate in this study, and 2 key informants by the uses of purposive sampling. The process of classroom action research using strategies of workshops and internal supervision. The process of classroom action research was conducted in 2 circles ; planning, acting, observing, and reflecting. The instruments used for gathering data included; teachers’ handbook of classroom action research, the tests, questionnaire, a structured interview, a task – performance recording form , proposal assessment form, and classroom research evaluation form. The data was analyzed by classifying the findings and the conclusion was drawn related to the objectives and the conceptual framework. Triangulation technique was employed for the purpose of data checking. The study results were presented by means of a descriptive analysis

The results were as follows :

Before development, the Teacher of Donsala School under the office of The Nakhon Phanom Educational Service Area Office 2, knowledge and understanding about research in the classroom princi¬ples and concepts from the research. Classroom analysis and defining the research problem in class. Drawing layout. Research in the classroom building, media / educational innovation. Data collection. Data analysis. Writing research reports. Guide the development of teachers used research in classroom with workshops.

2. The conferences’ strategy workshops and internal supervised that were ability of Donsalas’ teachers in classroom action research with conference workshop and internal supervised.

3. Donsala Schools’ teacher under the Nakhon Phanom Educational Service Area Office 2 had process and they can improve the students’ quality of teaching.

4. The learning achievement of Donsala school’s students under the office of NakhonPhanom educational service area 2 in 2007 was higher than 2006 academic year

In conclusion, the teacher development in classroom action research by using the process of action research in the 4 step cloud help the teacher improve themselves to conduct classroom action research to develop learning-teaching organization.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)