ข้อเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อความมีประสิทธิผลของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สูนทอน โพทิสาน
ไชยา ภาวะบุตร
วัฒนา สุวรรณไตรย์
วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดข้อเสนอยุทธศาสตร์การจั ดการศึ กษาเพื่ อความมี ประสิทธิผลของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีขั้นตอนในการ วิจัยดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อจัดทำร่างยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อความมีประสิทธิผล ดำเนิน การวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การสัมภาษณ์เชิงลึก และ ขั้นตอนที่ 3 การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT ระยะที่ 2 การพัฒนา“ร่างยุทธศาสตร์” ที่ได้จากการดำเนินการวิจัยใน ระยะที่ 1 เพื่อให้ได้ยุทธศาสตร์โดยมีขั้นตอนการพัฒนายุทธศาสตร์ 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 4 การยกร่างยุทธศาสตร์ การจัดการศึกษา ขั้ นตอนที่ 5 การหาประสิทธิภาพยุทธศาสตร์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการประชาพิจารณ์ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ขั้นตอนที่ 6 ปรับปรุงยุทธศาสตร์ ขั้นตอนที่ 7 กำหนดมาตรการสู่ความสำเร็จ โดยพิจารณาความสอดคล้องกับ แผนยุทธศาสตร์ของแขวง และแผนยุทธศาสตร์ของกระทรวงสาธารณสุข และกำหนดการปฏิบัติตามแผน ระยะ 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี ผู้วิจัยได้ไปเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ 1) กลุ่มผู้บริหารใน 6 สถาบัน ทั้งภายใน และต่างประเทศ 2) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ขององค์ประกอบยุทธศาสตร์ โดยใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เพื่อจะหาประสิทธิภาพของยุทธศาสตร์ และ ผู้วิจัยนำยุทธศาสตร์ไปประชา พิจารณ์ กับมีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 80 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลของการวิจัยพบว่า

ผลการพัฒนายุทธศาสตร์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธ์กิจ 3) เป้าหมาย 4) ประเด็นยุทธศาสตร์ 7 ด้าน โดยผลการหาประสิทธิภาพที่ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิหาความเหมาะสม และความไปได้ ผ่านการประชาพิจารณ์ใน ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ ในแต่ละด้าน ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการโดยภาพรวม พบว่า ความเป็นไป ได้ ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ในระดับมาก ด้านการบริหารวิชาการโดยภาพรวม พบว่า ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ความสอดคล้อง ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ ในระดับมาก ด้านการผลิต นักศึกษาโดยภาพรวม พบว่าความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนความสอดคล้อง ความเป็นประโยชน์ และความ เป็นไปได้ในระดับมาก ด้านการวิจัยโดยภาพรวม พบว่าความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนความสอดคล้อง ความ เป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ระดับมากที่สุด ด้านการวิจัย โดยภาพรวม พบว่าความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนความสอดคล้องความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ในระดับมาก ด้านการทำนุบำรุง ศิลปวัฒนธรรม สังคม และรักษาขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณีชาติลาวโดยภาพรวม พบว่า ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนความ สอดคล้อง ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ในระดับมาก ด้านการบริการวิชาการแก่ชุมชนทางด้านสุขภาพหรือ สาธารณสุขโดยภาพรวม พบว่า ความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนความสอดคล้อง ความเป็นประโยชน์ และความ เป็นไปได้ในระดับมาก ด้านการพัฒนาบุคลากร โดยภาพรวม พบว่า ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ในระดับมาก

 

Proposal Strategy of Education Management for the Effectiveness of Savannakhet of Health Science College Lao P.D.R

Sounthone Phothisane1) Chaiya Pawabutra2) Watana Suwannatrai3) and Vijittra Vonganusith4)

1) Department of Leadership in Educational ‘administration, sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon, Thailand, 47000

2) 3) 4) Asst Professor, Doctor of Education Program, Department of Educational Administration and Leadrship, Sakon NaKhon Rajabhat university Sakon Nakhon, Thailand, 47000

The purpose of this research was to propose strategies for educational management for the effectiveness of Savannakhet Health Science College, Lao People’s Democratic Republic (Lao PDR). The research methodology involved: Phase I was related to examining the context of drafted strategy, which comprised three stages: Stage 1-Investigation of document Inquiry and literature reviews; Stage 2-In depth interviews; and Stage 3- Application of SWOT analysis technique. Phase II was related to a strategy development, which was drafted from the goal set in Phrase I, and comprised four stages as follows: Stage 4-Establishment of strategy on educational management, Stage 5-Validation of strategy effectiveness based on experts and public hearings, Stage 6-Strategy refinement, and Stage 7-Success measures for congruence covering provincial strategic plans, public health strategy, and strategic plans for a 1-year period, a 3 year period, and a 5 year period. The data were collected through in-depth interviews by the researcher. The samples consisted of: 1) administrators from six organizations within Lao PDR and international organizations, and 2) experts to validate appropriateness, and feasibility of components of the proposed strategy by using the effectiveness assessment form developed by the researcher. Following, public hearings were then administered to 80 participants. The statistics employed were mean and standard deviation.

The findings revealed that the strategy proposal on educational management for the effectiveness of Savannakhet Health Science College, Lao PDR had five components comprising, 1) vision, 2) mission, 3) goals, 4) strategies with seven aspects. The results from the validation of strategy effectiveness, obtained through experts’ reviews for its appropriateness and feasibility, and public hearings for its congruence and utilization, revealed that in terms of feasibility, appropriateness, congruence, and utilization, the administrative management was at a high level. In sum, the academic affairs, as a whole, had its appropriateness at the highest level. The congruence, utilization, and feasibility were at a high level. In terms of producing graduates aspect, as a whole, the appropriateness was at the highest level, where as the congruence, utilization, and feasibility were at a high level. In terms of research aspect, as a whole, the appropriateness was at the highest level. The congruence and feasibility was at a high level. In addition, the aspect of arts and culture, community, preservation of custom, traditions and preservation of cultural artifacts and practices of Laos, as a whole, had an appropriateness of successful implementation at the highest level. The congruence, utilization, and feasibility were at a high level. The academic service for community in terms of health and public health, as a whole, had the highest level of appropriateness. The congruence, utilization, and feasibility were at a high level. The personnel development aspect, as a whole, was at a high level in terms of feasibility, appropriateness, congruence, and utilization.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)