การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพ นักเรียน (2) พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน (3) ยืนยันความเหมาะสม ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน การดำเนินการวิจัย มี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน โดยศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด หลักการ ทฤษฎีการบริหาร หน้าที่การบริหาร เกณฑ์คุณภาพด้านนักเรียน และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ โดยสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 21 คน และระยะ ที่ 3 ยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 471 คน เป็นผู้บริหารโรงเรียน 157 คน ครูผู้สอน 314 คนในโรงเรียนประถมศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการวิจัย พบว่า (1) องค์ประกอบ ของการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ด้านแหล่งเรียนรู้ ด้านสื่อ เทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านหลักสูตร ด้านการประกันคุณภาพ การศึกษา และ ด้านวิธีการบริหาร องค์ประกอบของคุณภาพนักเรียน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ ด้านสุขภาพ กายและสุขภาพจิต ด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ด้านความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ด้านทักษะการคิด ด้าน ทักษะการทำงาน และด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) รูปแบบการบริหารโรงเรียนเป็นโครงสร้างที่แสดงความสัมพันธ์ เกี่ยวเนื่องกันอย่างเป็นระบบระหว่างองค์ประกอบการบริหารงานโรงเรียน ซึ่งส่งผลให้เกิดคุณภาพของนักเรียน (3) รูป แบบการบริหารโรงเรียนที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมากที่สุด ( =4.63) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
Development of a Primary School Administration Model which Affects the Quality of Students
Amonrat Cheonghom1) Wannika Chalakbang2) Chamnong Wongchachom3) and Waro Phengsawat4)
1)Educational Administration and Development, Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon 47000, Thailand.
2)Assistant Professor, Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon 47000, Thailand.
3)Associate Professor, Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon 47000, Thailand.
4)Assistant Professor, Sakon Nakhon Rajabhat University, Sakon Nakhon 47000, Thailand.
The purposes of this study were: (1) to investigate primary education school administration factors which affect the quality of students, (2) to develop a primary school administration model which affects the quality of students, and (3) to confirm the appropriateness of the primary school administration model which affects the quality of students. The study was divided into 3 phases. Phase 1 – investigation of factors of the primary school administration model which affects the quality of students was done through examining the documents related to ideas, principles, theories and functions of administration including criteria of student quality and through interviewing 9 experts. Phase 2 – development of the school administration model using the Delphi technique for 3 - round revisions. The information sources derived from the 21 experts’ ideas. Phase 3 – confirmation of the model. The sample was a total of 471 people divided into 157 school administrators and 314 teachers in the primary schools under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast of Thailand. The findings were as follows: (1) The factors of primary school administration which affect the quality of students comprise 8 ones: instructional management, the school environment, learning sources, educational media and technology, administrator’s leadership, curriculum, educational quality assurance, and how to administer. The factors of the quality of students comprise 6 ones: physical and mental health, desirable morality, ethics and values, aspirations to know and learn, thinking skill, working skill, and learning achievement. (2) The model of school administration is a structure which demonstrates the systematic relations between the factors of primary school administration. All of which affect the quality of students. (3) The developed model of school administration that affects the quality of students as a whole was appropriate at the highest level (mean = 4.63). Considering it by aspect, it was found at the highest level in every aspect.