ความรู้เชิงบูรณาการด้านเนื้อหาและการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

สมฤทัย เย็นใจ
นฤมล ช่างศรี
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความรู้เชิงบูรณาการด้านเนื้อหาและการสอนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษา ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด โดยเป็นการศึกษาแบบกรณีศึกษาที่เน้นการ วิเคราะห์โพรโทคอล และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ กรณีศึกษาเป็นนักศึกษาปฏิบัติการสอน สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2556 จำนวน 3 คน โดยกรณีศึกษาทั้ง 3 คน ทำการสอนในหน่วย การเรียนรู้เรื่องการบวกหรือลบ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ร่วมกัน ขั้นการสังเกตชั้นเรียนร่วมกัน และการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน โดยทำการบันทึกวีดิทัศน์ บันทึกเสียง บันทึกภาพนิ่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบแนวคิดของ Ball, Thames & Phelps [2] ร่วมกับขั้นตอนของการศึกษาชั้นเรียน และวิธีการแบบเปิดตามกรอบแนวคิดของ Inprasitha [8] ผลการวิจัยพบว่า กรณีศึกษาที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่ใช้ การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด มีความรู้เชิงบูรณาการด้านเนื้อหาและการสอนในด้านความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาและ นักเรียน และความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาและการสอน ดังต่อไปนี้ 1) ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาและนักเรียน (KCS) ในขั้นการสร้าง แผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน กรณีศึกษามีการคาดการณ์แนวคิดของนักเรียน คาดการณ์อุปสรรคและความยุ่งยากของ นักเรียน ในขั้นการสังเกตชั้นเรียนร่วมกัน กรณีศึกษามีความเข้าใจการให้เหตุผลของนักเรียน สามารถรับฟังและตอบสนองต่อการคิดของนักเรียนตระหนักถึงแนวคิดและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเนื้อหาทางคณิ ตศาสตร์ ของนักเรียน และในขั้นการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน กรณีศึกษาสามารถอธิบายแนวคิดของนักเรียนแต่ละสถานการณ์ ปัญหา มีความเข้าใจการให้เหตุผลของนักเรียน ตระหนักถึงแนวคิดและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับเนื้อหาทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียน 2) ความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาและการสอน (KCT) ในขั้นการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน กรณีศึกษามีการวางลำดับกิจกรรมและการดำเนินการสอน มีการจัดเรียงแนวคิดของนักเรียนเพื่อนำมาใช้เรียงลำดับในการนำเสนอ ในขั้นการสังเกตชั้นเรียนร่วมกัน กรณีศึกษามีการวางลำดับกิจกรรมและการดำเนินการสอน มองเห็นว่า ปัญหาคณิตศาสตร์สามารถมีแนวทางในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย จัดเรียงแนวคิดของนักเรียนเพื่อนำมาใช้เรียงลำดับ ในการนำเสนอ นำแนวคิดของนักเรียนมาขยายเพื่อให้นักเรียนในห้องเข้าใจและสามารถให้นักเรียนคนอื่น ๆ ตามแนวคิด ของเพื่อนได้ และในขั้นการสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน กรณีศึกษามีการลำดับกิจกรรมการสะท้อนผลเป็นไป ตามขั้นตอนการสะท้อนผลคือ มีการพูดถึงวัตถุประสงค์และการบรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละกิจกรรม และสะท้อนผล ถึงปัญหาและข้อผิดพลาดในการสอน รวมทั้งแนวทางในการพัฒนาการสอนในครั้งต่อไป

 

Student Interns’ Pedagogical Content Knowledge in Mathematics in School Using Lesson Study and Open Approach

Somruthai Yenjai1) Dr. Narumon Changsri*2) and Dr. Maitree Inprasitha**3)

1) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

2) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

3) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

This research aimed to analyze student interns’ pedagogical content knowledge in mathematics in school using lesson study and open approach. The research employed case study procedure focusing on protocol analysis. Case study included 3 student interns in Mathematics Education Program, Faculty of Education, Khon Kaen University in 2013 academic year. All case studies taught 1st grade mathematics unit addition or subtraction. Data collected by using collaboratively design research lesson (Plan), collaboratively observing the research lesson (Do), collaboratively reflection on teaching practice (See) which recorded by audiotape, videotape, and capture. The data were analyzed by Ball, Thames & Phelps’s framework [2] with lesson study and open approach procedure by using Inprasitha’s framework [8]. The research finding found that, all case studies taught in school using lesson study and open approach had pedagogical content knowledge about knowledge of content and student and knowledge of content and teaching as follows. 1) Knowledge of content and student (KCS), collaboratively plan process; they had anticipated what students are likely to think, anticipated students’ difficulties and obstacles. Collaboratively do process; they had understood student’ reasoning, hear and respond appropriately to students’ thinking, aware of the students’ concept and misunderstandings about the mathematical content. Collaboratively see process; they could explain students’ ideas in each problem situation, understood students’ reasoning, aware of the students’ concept and misunderstandings about the mathematical content. 2) Knowledge of content and teaching (KCT), collaboratively plan process; they could sequence particular content for instruction, choose which examples to start with and which examples to use to take students deeper into the content. Collaboratively do process; they could sequence particular content for instruction, they could see mathematics has a variety of approaches to solve problems. Collaboratively see process; they could reflect about purpose and achievement of each activity, reflect about problem and mistake, including guidelines for the development of the next instruction.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)