การจัดการความรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

พระอธิการธีรพงษ์ ตาดี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การจัดการความรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการจัดการความรู้ เพื่อศึ กษาปั จจัยที่ ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม และเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรสนับสนุนการสอนจำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม โดยวิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการ จัดการความรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดหาความรู้ รองลงมา คือ ด้านการสร้างความรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการจัดเก็บและการสืบค้นข้อมูล ปัจจัยที่ส่งผล ต่อความสำเร็จของการจัดการความรู้ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร รองลงมา คือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ข้อเสนอแนะแนวทางด้านกระบวนการจัดการความรู้ ควรจัดสรรอุปกรณ์ในการศึกษาค้นคว้า ให้มีความเพียงพอต่อบุคลากร เข้าร่วมฝึกอบรม สัมมนากับองค์กรภายนอก ควรจัดหาสถานที่สำหรับเก็บรวบรวม ความรู้ต่าง ๆ ไว้ให้บริการ เช่น ห้องสมุด มีบอร์ดหรือสถานที่แจ้งข้อมูลข่าวสาร ด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของ การจัดการความรู้ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้บริหารกับ ผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ความสำคัญกับเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งเสริมและให้ความรู้แก่บุคลากรในการนำเทคโนโลยีไปใช้ในการจัดการความรู้ ควรให้ความสำคัญกับการวัดผลการจัดการความรู้ในทุกระดับ และจัดสรรงบ ประมาณในแต่ละแผนงานให้มีความเพียงพอและเหมาะสม

 

Knowledge Management of General Buddhist Scripture Schools in Chiang Rai Province

PhaAthikarn Teerapong Tadee

EducationalAdministration, Chiang Rai University, Chiang Rai Province, 57000

A study of knowledge management of general Buddhist scripture schools in Chiang Rai Province intended to study the knowledge management’s conditions, to investigate the factors affecting the success of knowl¬edge management, and to find the guidelines for developing the knowledge management concept. The sampling groups included the director, administrator, teachers, and supporting staffs totally 186 persons. A series of questionnaire was a commonly used method to collectprimary data with analyzing of the frequency, percentage, mean, and standard deviation. The results showed that the knowledge management’s procedure of the general Buddhist scripture schools was in a high level in overall. The highest average mean was found in the supply of knowledge, followed by the creation of knowledge, and the lowest average mean was the storage and retrieval of data. The factors that affect the success of knowledge management were evaluated in a high level as a whole. The average means were ranked in descending order as the aspects of organizational culture, information technology, and fundamental infrastructures. Recommendations towards the knowledge management’s procedure, studying equipment should be adequately supplied for the personnel. It was necessary to cooperate with an external organization when setting a training program. An available place should be provided for collecting knowledge compilation, such as, library, bill board, pamphlet, and brochure. In terms of the recommendations towards the success of knowledge management, subordinates were supposed to give a great opportunity to express their ideas and share knowledge between the executors and the subordinates. It was an important to set the stage of knowledge sharing. The personnel should be supported and educated in using a high technology for knowledge management. The evaluation of knowledge management should be evaluated at all levels. Moreover, a financial budget should be allocated to each plan appropriately.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)