การบริหารจัดการสำนักวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยขอนแก่นในทศวรรษหน้า

Main Article Content

สุนิสา อ่อนตา
ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการสำนักวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในทศวรรษหน้าด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบ EDFR แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ (1) การศึกษาบริบทสำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่น (2) การศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการสำนักวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดย กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 25 รายจำนวน 2 รอบโดยรอบแรกเป็นการสัมภาษณ์ รอบสองเป็นการสอบถามความเห็นด้วยแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ข้อมูลเชิงปริมาณนำมาวิเคราะห์ค่ามัธยฐาน ค่าฐานนิยม และค่าพิสัยระหว่างควอ ไทล์ การวิเคราะห์ข้อมูลนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการทำนายความเป็นไปได้ของแนวทางในการบริหารจัดการสำนักวิชา ศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยขอนแก่นในทศวรรษหน้า ดังนั้น ค่ามัธยฐาน 3.5 ขึ้นไป ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.5 และค่าความแตกต่างระหว่างฐานนิยมกับมัธยฐานไม่เกิน 1.0

ผลการวิจัยพบว่า

1. ด้านการวางแผน สำนักวิชาศึกษาทั่วไปควรมีการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไปที่มีความหลากหลายในเรื่อง อาเซียน เรื่อง ศตวรรษที่ 21 ที่เป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาอาเซียนการพัฒนารูปแบบการสอนให้มีความหลากหลายทัน สมัยเข้ากับเหตุการณ์ปัจจุบัน มีการส่งเสริมให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป การสนับสนุนให้คณะได้จัดทำหลักสูตรศึกษาทั่วไปเพื่อลดความซ้ำซ้อนรายวิชาและบูรณาการแต่ละศาสตร์ให้มีความ เหมาะสม การวางแผนให้ผู้ใช้บัณฑิตมีส่วนร่วมในการประเมินหลักสูตร มีการพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่องด้านการ จัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ การมีระบบการคัดสรรอาจารย์ผู้สอนที่ความตรงตามวิชาที่สอนที่ชัดเจน มีการ วางแผนแลกเปลี่ยนบุคลากรสายสนับสนุนร่วมกับคณะ นักศึกษาในภูมิภาคร่วมกับเครือข่ายในภูมิภาค

2. ด้านการจัดองค์การ การจัดโครงสร้างองค์การแบบยืดหยุ่น การบริหารงานแบบแนวราบเพื่อกระจายอำนาจ มีการกำหนดข้อกำหนดการจ้าง (TOR) ที่ชัดเจน มีการวิเคราะห์ภาระงานเพื่อพัฒนาบุคลากรของหน่วยงาน มีจุดการ ให้บริการนักศึกษาแบบ ONE STOP SERVICE มีการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้งานร่วมกันและพัฒนาเครือข่ายความ ร่วมมือระหว่างคณะ

3. ด้านการนำองค์การ ผู้บริหารงานสำนักวิชาศึกษาทั่วไปในอนาคตควรเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการศึกษาทั่วไป บริหารงานแบบเต็มเวลา ผู้บริหารควรมีทักษะด้านประสานสัมพันธ์ ทักษะในด้านการคิด (Thinking skills)เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง สามารถสนับสนุนให้อาจารย์และบุคลากร ให้มีโอกาสในการพัฒนาในวิชาชีพ ผู้บริหาร ควรเปิดโอกาสให้อาจารย์ บุคลากรตลอดจนผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานภายนอก สนับสนุนให้มีการ วิจัยเป็นฐานในการพัฒนาผู้เรียน และควรมีวาระในการดำรงตำแหน่ง

4. ด้านการควบคุม ผู้บริหารสำนักวิชาศึกษาทั่วไปเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องข้องมีส่วนร่วมในการบริหาร องค์กรตามหลักธรรมาภิบาล และการประกันคุณภาพขององค์กร

 

Management in the Next Decade of General Education Office Khon Kaen University

Sunisa Onta1) and Dr. Thanomwan Prasertcharoensuk*2)

1) Department of Educational Administration, Faculty of Education, Khon Kaen University

2) Assistant Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Education, Khon Kaen University

The purpose of this research was to study Management in the next decade of General Education Office Khon Kaen University. The study used Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) that consisted of two phases : 1) contextual study of General Education Office Khon Kaen University 2) an in-depth study General Education Office Khon Kaen University as Management in the next decade that consisted of two rounds of interviews with 25 experts. The first round involved in-depth interviews; while in the second completed a 5-level rating-scaled questionnaire. Quantitative data were analyzed to determine the median, mode, and inter-quartile rang. These results were compared to the following benchmarks for Management in the next decade of General Education Office Khon Kaen University: a median of 3.5 or higher, an inter-quartile rating of 1.5 or lower, and a difference between the mode and median of no more than 1.0.

Findings:

1. Planning General Education Office should have developed for ASEAN and 21st Century in English version or ASEAN’s common language. ASEAN’s common language should have several patterns for use in current situation. Example support for making general education by the other concern people. Support for making general education that can decrease and adjust the overlap in each course. Planning for evaluate the program by the entrepreneur. Selected system for searching teacher in each the faculty. Planning for changing member and student between the organization or the faculty.

2. Organization Management Flexible organization management, Flat management for manage the power. Set a certain TOR. Job analysis for manner development. ONE STOP SERVICE for student. Center of learning and develop network between the faculties in university.

3. Organization Leader Ideal leader of general education should have knowledge in general education, full-time management, relationship management skills and thinking skills. Leaders have to support teacher and member in organization for develop in occupation. Leader should support teacher and member of organization have learning between organizations. Support for research and development for student and have a term of management.

4. Control Administrator of General Education Office should give a chance the concern people have participation according to the principle of good governance and have a process of quality assurance of the organization.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)