การตั้งคำถามช่วยเหลือทางการเรียนเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผลทางพีชคณิตในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

Main Article Content

สันติ บรรเลง
สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง
ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจระดับการตั้งคำถามช่วยเหลือทางการเรียนของครูเพื่อส่งเสริมการให้เหตุผล ทางพีชคณิตของนักเรียนในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้เป็น ครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ภาคเรียนที่ 2 โรงเรียนบ้านบึงเนียมบึงใคร่นุ่น ซึ่งเป็นโรงเรียน ที่อยู่ในระบบการพัฒนาวิชาชีพครูโดยใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสมการ โดยใช้หนังสือ Mathematic International Grade 7 จำนวน 12 แผน 2) เครื่องมือบันทึกวีดิทัศน์และเครื่องมือบันทึกเสียง และ 3) แบบบันทึกการ สัมภาษณ์ที่กระตุ้นด้วยวิดีทัศน์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ 1) กรอบการวิเคราะห์ตามกรอบระดับการ ตั้งคำถามช่วยเหลือทางการเรียน 4 ระดับของ Mehan[9] และ 2) กรอบการวิเคราะห์ระดับการให้เหตุผลทางพีชคณิต ตามกรอบแนวคิดของ Aké, Godino, Gonzato, Wilhelmi [1]

ผลการวิจัยพบว่า ในชั้นเรียนที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ครูมีการตั้งคำถามช่วยเหลือทางการ เรียน ได้แก่ 1) คำถามระดับถามถึงทางเลือก (CE) สามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีระดับการให้เหตุผลทางพีชคณิตจาก ระดับ 0 ไปสู่ระดับ 1 2) คำถามระดับถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้น (PE) สามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีการให้เหตุผลทางพีชคณิต จากระดับ 0 ไปสู่ระดับ 1 และสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีการให้เหตุผลทางพีชคณิตจากระดับ 1 ไปสู่ระดับ 2 3) คำถามระดับถามถึงกระบวนการ (PRE) สามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีการให้เหตุผลทางพีชคณิตจากระดับ 1 ไปสู่ระดับ 2 4) คำถามระดับถามถึงกระบวนการอภิมาน (ME) สามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีการให้เหตุผลทางพีชคณิต จากระดับ 0 ไปสู่ระดับ 1

ครูและนักวิจัยสามารถนำลักษณะการตั้งคำถามช่วยเหลือทางการเรียนไปใช้เป็นแนวทางการวางแผนในเนื้อหา พีชคณิตในระดับชั้นต่างๆ และสามารถพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดสำหรับการตั้งคำถามช่วยเหลือทางการเรียนในบริบท ของชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด

 

Scaffolding Questioning to enhance Algebraic Reasoning in Classroom using Lesson Study and Open Approach

Sunti Bunlang1) Dr. Sampan Thinwiangthong*2) and Dr. Maitree Inprasitha**3)

1) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

2) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

3) Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand, 40002

This study aimed to explore level of scaffolding questioning to enhance algebraic reasoning of students in classroom using Lesson Study and Open Approach. The target groups were teacher and students of 7 grade in 2013 school year, where has been participated in the Project for Professional Development of Mathematics Teachers through Lesson Study and Open Approach. The data were collected by 1) using 12 lessons about equation using textbook mathematic international grade 7, 2) recording video and voice during the lessons and 3) video-stimulated interviews. Data were analyzed by using frameworks of 1) cognitive domand [9] and 2) algebraization levels [1]

The study results were showed that in classroom using Lesson Study and Open Approach, teacher used scaffolding questioning at all levels of cognitive domand as follows: 1) Choice Elicitation (CE) question can enhance students from algebraization level 0 to level 1, 2) Product Elicitation (PE) question can enhance students from algebraization level 0 to level 1 and can enhance students from algebraization level 1 to level 2, 3) Process Elicitation (PRE) question can enhance students from algebraization level 1 to level 2, 4) Metaprocess Elicitation (ME) question can enhance students from algebraization level 0 to level 1

Teachers and researchers can apply an approach for scaffolding questioning to be used guide for planning the algebraic lessons in several grades. It can be used to develop conceptual framework for scaffolding questioning in context of Lesson Study and Open Approach mathematic classroom.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)