การพัฒนามโนมติเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับยุทธศาสตร์สแคฟโฟลดิง

Main Article Content

ปิตุพงษ์ ท่าค้อ
ไพโรจน์ เติมเตชาติพงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามโนมติเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับยุทธศาสตร์สแคฟโฟลดิง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/10 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเขื่องในพิทยาคาร จำนวน 33 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) รูปแบบการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบ ไม่เข้าขั้นการทดลอง ( pre – experimental design) แบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (one group pretest - posttest design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) เครื่องมือใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับยุทธศาสตร์สแคฟโฟลดิง จำนวน 8 แผน ใช้เวลาสอน 13 ชั่วโมง ซึ่งเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นเพื่อพัฒนามโนมติเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง 2 มโนมติหลัก คือ คลอโรพลาสต์และสารสีที่เกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์ด้วยแสง และกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจมโนมติเรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบคำถามปลายเปิด แบบบันทึกอนุทินของนักเรียน และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดกลุ่ม มโนมติ และเปรียบเทียบผลโดยการหาค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับยุทธศาสตร์สแคฟโฟลดิง สามารถพัฒนามโนมติ เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสงของนักเรียนได้ โดยก่อนการจัดการเรียนรู้นักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จากมโนมติทางวิทยาศาสตร์ในทุกมโนมติ โดยเฉพาะมโนมติที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ หน้าที่ ของคลอโรพลาสต์ ปฏิกิริยาแสง ปฏิกิริยาตรึงการคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C3 C4 และ CAM และ โฟโตเรสไพเรชัน หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับยุทธศาสตร์สแคฟโฟลดิง พบว่า โดยเฉลี่ยนักเรียนกว่าร้อยละ 80 สามารถพัฒนามโนมติ ไปสู่มโนมติ ที่ถูกต้องมากขึ้ นและนักเรี ยนร้อยละ 20 มีมโนมติ ถูกต้องในทุ กมโนมติ โดยนักเรียนส่วนใหญ่สามารถเขียนคำอธิบายโดยให้เหตุผล หรือใช้แผนภาพประกอบที่ถูกต้องตามมโนมติทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะมโนมติย่อยเรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของคลอโรพลาสต์ การทำงานของสารสี ปฏิกิริยาแสง และปฏิกิริยา การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C3 C4 และ CAM

 

The Development of Grade 11 Students’ Conception of Photosynthesis using Inquiry-Based Approach Associated with Scaffolding Strategies

Pitupong Thakho1), Dr. Phairoth Termtachatipongsa2)

1) Department of science education, Faculty of Educational, Khon Kaen University,Khon Kaen, Thailand, 40002

2) Assistant Professor, Department of Science Education , Faculty of Educational, Khon Kaen University, Khon Kaen , Thailand, 40002

The purpose of this research was to develop grade 11 students’ conception of photosynthesis using inquiry-based approach associated with scaffolding strategies. The studied samples were 33 students of Mathayomsuksa 5/10 selected by purposive sampling in second semester in 2013 at Khuangnaipittayakarn School. Research design was pre-experimental design which was one-group pretest posttest design. The research instruments included eight photosynthesis lesson plans using inquiry-based approach associated with scaffolding strategies 13 hours, science concept survey in photosynthesis using open ended questions, students’ personal reflection and semi-structured interview. Data was analyzed by content analysis, group categorization and percentage.

The research results showed that inquiry-based approach associated with scaffolding strategies could develop students’ conception of photosynthesis. Before learning, most students had misconceptions in all topics, especially, photosynthetic reaction: chloroplast and pigments’ function in photosynthesis, light reaction, carbon dioxide fixation in C3, C4 and CAM plants, and photorespiration. After learning, 80 percentage of students moved to the more correct concepts in all topics. Moreover, 20 percentage of all students had correct understanding in all topics. Most students could explain concepts by using reason and diagram that contained scientific concepts, especially, structure and function of chloroplast, pigments’ function, light reaction, and carbon dioxide fixation in C3, C4 and CAM plants.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)