สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25

Main Article Content

ชัยณรงค์ คำภูมิหา
เสาวนี ตรีพุทธรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถาน ศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 3) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 133 คน และครูผู้สอน จำนวน 345 คน รวมทั้งสิ้น 478 คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน สุ่มตัวอย่างโดยวิธี การสุ่มแบบแบ่งชั้น ตามขนาดของโรงเรียน และกำหนดสัดส่วนจำนวนกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำมาสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง 0.98 โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรม คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป เพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตามโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

ผลการวิจัยพบว่า

1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาตนเอง (\dpi{80} \bar{X} = 4.30) สำหรับด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ (\dpi{80} \bar{X} = 4.17)

2) ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 ในภาพรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านความผูกพันต่อองค์การ (\dpi{80} \bar{X} = 4.34) สำหรับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ คุณภาพผู้เรียน (\dpi{80} \bar{X} =4.15)

3) ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูมีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

4) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวพยากรณ์ประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูมี 4 ด้านคือ ด้าน การมีวิสัยทัศน์ (X8) ด้านการสื่อสารและการจูงใจ (X6) ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากร (X7) และด้านการบริการที่ดี (X2) มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.754 และค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ร้อยละ 56.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งสามารถสร้างสมการถดถอยจากค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ ที่อยู่ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปของคะแนนดิบ (Unstandardized Score)

Y = 1.783 + 0.241 (X8) + 0.159 (X6) + 0.078 (X7) + 0.103 (X2)

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized Score)

Z(Y) = 0.353 Z (X8) + 0.215 Z (X6) + 0.134 Z (X7) + 0.151 Z (X2)

 

Competency of School Administrators Affecting Effectiveness of Teacher’s Performance under the Office of Secondary Educational Service Area 25

Chainarong Khamphoomha1) and Dr. Saowanee Treputtharat2)

1)Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon kaen University

2)Assistant Professor, Department of Educational Administration, Faculty of Educational, Khon kaen University

The objectives of this research were to 1) study the competency of school administrators and the effectiveness of teacher’s performance under the office of secondary educational service area 25, 2) study the relation between competency of school administrators and the effectiveness of teacher’s performance under the office of secondary educational service area 25, and 3) study the competency of school administrators affecting effectiveness of teacher’s performance under the office of secondary educational service area 25. Sampling group for the research was 478 persons including 133 school administrators and 345 teachers, specified by Krejcie and Morgan sample size table, chosen at random through consideration of size school with the method of proportional stratified sampling, then the simple random sampling. Research instrument was the questionnaire with the reliability coefficient of 0.98. The statistical data was analyzed using ready-to-use computer program to search for percentage, mean, standard deviation and correlation coefficient. The regression equation was created for predicting the dependent variables through the method of stepwise multiple regression analysis.

Research findings were as follows ;

1) Overall image of the competency of school administrators indicated a high level of mean score. When compared to each other, the highest mean was found with the self development (\dpi{80} \bar{X} = 4.30) while the lowest one was found the analysis and synthesis. (\dpi{80} \bar{X} = 4.17)

2) Overall image of the effectiveness of teacher’s performance indicated a high level of mean score. When compared to each other, the highest mean was found with the organizational commitment (\dpi{80} \bar{X} = 4.34) while the lowest one was found quality of the students. (\dpi{80} \bar{X} =4.15)

3) The positive relation between competency of school administrators and the effectiveness of teacher’s performance was found with statistical significance at the 0.01 level.

4) The four competency of school administrators that could predict the effectiveness of teacher’s performance indicated having a vision (x8) , the communication and persuasion (x6), the personnel potential development (x7) and the service mind (x2). The value of multiple correlation coefficient was 0.754 and the coefficient of prediction or prediction capability was at 56.90 % with statistical significance at the 0.01 level. These could be formed as the regression equation base on regression coefficient of predictors as follows ;

The Prediction Equation of Unstandardized Score

Y = 1.783 + 0.241 (x8) + 0.159 (x6) + 0.078 (x7) + 0.103 (x2)

The Prediction Equation of standardized Score

Z(Y) = 0.353 Z (x8) + 0.215 Z (x6) + 0.134 Z (x7) + 0.151 Z (x2)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)