การศึกษาการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26

Main Article Content

ภาณุวัฒน์ บุญพระธรรม
นิลมณี พิทักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาใน จังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 2) เพื่อเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้ สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในจังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 325 คน จาก 32 โรงเรียนในจังหวัดมหาสารคาม โดยสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบ Rating Scale เก็บข้อมูลระหว่าง เดือนตุลาคม 2556 ถึง เดือนเมษายน 2557 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและ เปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 โดยภาพรวมการปฎิบัติอยู่ในระดับ “ปานกลาง” ( \dpi{100} \bar{X}= 3.34, S.D. = 0.88) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านรูปแบบการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( \dpi{100} \bar{X} = 3.41, S.D. = 0.80) รองลงมาคือด้านแนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน ( \dpi{100} \bar{X} = 3.33, S.D. = 0.96) ส่วนด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นอาเซียน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( \dpi{100} \bar{X} = 3.31, S.D. = 0.92) 2) ผลการเปรียบเทียบการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดมหาสารคาม สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกัน พบว่า มีการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

 

A Study of Learning Management Towards Joining Asean Community by Secondary Schools in Mahasarakam Province Under The Office of Secondary Education Service Area 26

Panuwat Boonpratham1) and Nilmanee Pitak2)

1)Department of Curriculum and Teaching, Faculty of Educational , Khon Kean University , Khon Kean, Thailand , 40002

2)Associate Professor, Department of Curriculum and Teaching, Faculty of Educational , Khon Kean University, Thailand, 40002

The objectives of the present research study were 1) to study the learning management towards Joining ASEAN Community as practiced by Secondary Schools in Mahasarakam Province under the Office of Secondary Education Service Area 26 and 2) to compare the learning management towards Joining ASEAN Community by secondary schools in Mahasarakam Province under the Office of Secondary Education Service Area 26. The sample group consisted of 325 school teachers in 32 schools in Mahasarakam Province who were selected through a multi-stage sampling. The tool used for the study was a questionnaire with rating scale which took about six months to complete the data collection, from October 2013 to April 2014. The collected data were analyzed by means of computing percentage, arithmetic mean, standard deviation, and the One-Way ANOVA was applied to compare differences among schools based on their school sizes.

The research findings found that: 1. Learning management towards joining the ASEAN Community as practiced by the secondary schools in Mahasarakam Province under the Office of Secondary Education Service Area 26, as a whole, was at a “moderate” level. However, when each aspect of the management was scrutinized individually, it was found that learning management format showed a highest mean of practice ( \dpi{100} \bar{X} = 3.41, S.D. = 0.96). The next aspect of practice in order of significance was ways for managing learning activities towards joining ASEAN Community ( \dpi{100} \bar{X} = 3.33, S.D. 0.96), while the aspect of developing school curriculum emphasizing ASEAN Community showed a lowest mean of practice ( \dpi{100} \bar{X} = 3.31, S.D. = 0.92). 2) A comparison of the schools’ practice, based on school size, concerning learning management for joining ASEAN Community, it was found that school of different sizes practiced differently on the matter of learning management at the .001 level of significance.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)